[recent_post_slider design="design-4" category="6481,5610" limit="30" dots="false" show_read_more="true" show_date="false" show_date="false" show_author="false" show_content="false" ]งานใหม่ล่าสุด!!
  • ไม่มีหมวดหมู่

เหตุการณ์ปัจจุบัน

แชร์ให้เพื่อน

• ยูเครน รัสเซีย วิกฤตการณ์ไครเมีย – วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 เป็นวิกฤตการณ์ทางการทูตในเขตปกครองตนเองไครเมีย ประเทศยูเครน อันเป็นผลสืบเนื่องจากการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 ซึ่งโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีวิคเตอร์ ยานูคอวิชในกรุงเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ ตั้งแต่วันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกลุ่มชาติพันธุ์รัสเซียบางกลุ่มจัดการประท้วงคัดค้านเหตุการณ์ในกรุงเคียฟ และต้องการความสัมพันธ์หรือบูรณาการกับประเทศรัสเซียใกล้ชิดยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการเพิ่มอัตตาณัติหรือให้เอกราชแก่ไครเมียถ้าเป็นไปได้ การประท้วงบางจุดมิได้ทั้งเกิดขึ้นเองหรือจำกัดอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งทั้งหมด กลุ่มอื่น ซึ่งที่โดดเด่นประกอบด้วยชาวตาตาร์ไครเมียและชาติพันธุ์ยูเครน เดินขบวนสนับสนุนการปฏิวัติ ยานูคอวิชที่ถูกโค่นอำนาจลี้ภัยไปยังรัสเซีย และเรียกร้องให้กองทัพรัสเซียเข้าแทรกแซงและรักษา “กฎหมายและความสงบเรียบร้อย” ในยูเครน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไครเมีย อย่างลับ ๆ

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ ทหารติดอาวุธและสวมหน้ากากโดยไม่มีเครื่องยศซึ่งมีพฤติการณ์นิยมรัสเซียยึด อาคารสำคัญจำนวนหนึ่งในไครเมีย รวมทั้งอาคารรัฐสภาและท่าอาากศยานสองแห่ง กลุ่มชายดังกล่าวทำลายโทรคมนาคมและบริการอินเทอร์เน็ตแทบทั้งหมดระหว่างไครเมียกับยูเครนส่วนที่เหลือ ภายใต้การปิดล้อมและมีผู้ชุมนุมอยู่ภายใน สภาไครเมียสูงสุดปลดรัฐบาลของสาธารณรัฐปกครองตนเองและเปลี่ยนตัวประธานสภา รัฐมนตรีไครเมีย อะนาโทลีย์ มอฮิลอว์ (Anatolii Mohyliov) เป็นเซร์ฮีย์ อัคซอนอว์ (Sergey Aksyonov) กองกำลังรัสเซียซึ่งประจำอยู่ในไครเมียตามความตกลงทวิภาคีได้รับการเสริม กำลังและเรือรบสองลำจากกองเรือบอลติกของรัสเซียละเมิดน่านน้ำยูเครน รัฐบาลยูเครนกล่าวหารัสเซียว่าแทรกแซงกิจการภายในของรัสเซีย ขณะที่ฝ่ายรัสเซียปฏิเสธการกล่าวหาดังกล่าวอย่างเป็นทางการ

วันที่ 1 มีนาคม รัฐสภารัสเซียให้อำนาจประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูตินใช้กำลังทหารในยูเครน หลังมีการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้นำนิยมรัสเซียอย่างไม่เป็นทางการที่เพิ่งได้รับแต่งตั้ง เซร์ฮีย์ อัคซอนอว์ รักษาการประธานาธิบดียูเครน โอเล็กซันดร์ ทูร์ชินอฟ (Oleksandr Turchynov) มีคำสั่งว่าการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีไครเมียไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ แหล่งข่าวฝ่ายนิยมรัฐบาลอ้างว่าอาจมีการปลอมแปลงระหว่างการลงมติจัดการลงประชามติเอกราชปี 2557 และการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลในไครเมีย สำนักงานอัยการสูงสุดแถลงว่า ผลใด ๆ จากการลงประชามติแย้งกับรัฐธรรมนูญแห่งยูเครนและไครเมีย ซึ่งต้องมีการลงประชามติทั่วประเทศ ผู้นำชาวตาตาร์ไครเมียกล่าวว่าพวกตนจะไม่เข้าร่วมหรือยอมรับการลงประชามติแยกประเทศใด ๆ

วันที่ 2 มีนาคม ยูเครนประกาศพร้อมรบเต็มกำลังและระดมพลทั่วประเทศ รองนายกรัฐมนตรีไครเมีย Rustam Temirgaliev รายงานว่ากองกำลังติดอาวุธทั้งหมดในดินแดนไครเมียล้วนถูกปลดอาวุธหรือเปลี่ยนฝ่ายแล้ว กระทรวงกลาโหมยูเครนอ้างว่ารายงานเหล่านี้ไม่เป็นความจริง ไม่นานจากนั้น หัวหน้ากองทัพเรือยูเครน Denis Berezovsky ประกาศในแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ว่าเขาปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจากรัฐบาลที่ ประกาศตนเองในกรุงเคียฟและประกาศความภักดีต่อทางการและประชาชนไครเมีย นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ดมิทรี เมดเวเดฟ ประณามรัฐบาล Yatsenyuk ว่าไม่ชอบธรรม กองทัพเรือรัสเซียเริ่มการฝึกซ้อมทางทหารในมณฑลคาลินินกราด ใกล้กับพรมแดนลิทัวเนียและโปแลนด์ ประธานาธิบดีลิทัวเนียและโปแลนด์เรียกร้องการหารือตามสนธิสัญญานาโต ข้อ 4 วันเดียวกัน ช่องโทรทัศน์ที่รัฐบาลรัสเซียเป็นเจ้าของบางส่วน แชแนลวันรัสเซีย ออกรายงานเน้นว่า ชาวยูเครน 140,000 คนได้หลบหนีมายังรัสเซียผ่านพรมแดน ซึ่งได้เกิดการโต้เถียงเพราะรายงานดังกล่าวรวมภาพการจราจรติดขัดบนถนนไปยัง โปแลนด์ มิใช่รัสเซีย

สภาแอตแลนติกเหนือและสหภาพยุโรปจะจัดการประชุมสุดยอดผู้นำฉุกเฉินในประเด็นดังกล่าว สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนีและสหภาพยุโรปประณามรัสเซีย โดยกล่าวหาว่ารัสเซียละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศและละเมิดอธิปไตยของยูเครน

วันที่ 4 มีนาคม ปูตินหยุดการฝึกซ้อมทางทหารและถอนกำลังกลับจากพรมแดนยูเครน ปูตินแถลงในการจัดประชุมผู้สื่อข่าวว่าทหารที่ยึดครองฐานทัพมิใช่ทหารรัส เซีย หากแต่เป็นกำลังป้องกันตนเองท้องถิ่น เขากล่าวว่าขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะส่งกองกำลังเข้าไปในยูเครน แต่รัสเซียสงวนสิทธิที่จะใช้ทุกวิถีทางเป็นทางเลือกสุดท้ายต่อความเสี่ยง เกิดอนาธิปไตย ปูตินแถลงสนับสนุนการกำหนดการปกครองด้วยตนเองของชาวไครเมียเพื่อตัดสินสถานภาพของตนเกี่ยวกับยูเครน แต่อ้างว่ารัสเซียจะไม่ผนวกไครเมียด้วยกำลัง

สภาไครเมียสูงสุดลงมติเมื่อสมัยประชุมวันที่ 6 มีนาคมว่าด้วยการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัวหลังเป็น ส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนมานานกว่า 6 ทศวรรษ การวินิจฉัยของสภาสูสุดจะถูกเสนอต่อชาวไครเมียผ่านการลงประชามติหากรัสเซีย รับคำร้องดังกล่าว การลงประชามติเดิมประกาศกำหนดไว้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จะเลื่อนขึ้นมาเป็นวันที่ 16 มีนาคม 2557 และคำถามจะถูกเปลี่ยนเพื่อสะท้อนการลงมติเมื่อวันที่ 6 มีนาคมของสภาสูงสุดว่าจะสนองรับการรวมชาติกับรัสเซียหรือไม่

ในวันที่ 9 มีนาคม ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน โทรศัพท์ถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เดวิด แคเมอรอน โดยปกป้องการเคลื่อนไหวเพื่อแยกตัวออกของผู้นำไครเมียนิยมรัสเซีย โดยกล่าวว่า พฤติการณ์ของพวกเขามุ่งเพื่อปดป้องผลประโยชน์อันชอบธรรมของประชากรในพื้นที่ อย่างไรก็ดี แมร์เกิลบอกปูตินว่า การลงประชามติดังกล่าวละเมิดรัฐธรรมนูญยูเครนและขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ

วันที่ 11 มีนาคม รัฐสภาไครเมียลงมติและอนุมัติคำประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลจากยูเครน ตั้งเป็นสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีมติเห็นชอบ 78 เสียง จากทั้งหมด 100 เสียง

วันที่ 15 มีนาคม รัสเซียยับยั้งข้อมติสหประชาชาติที่ประกาศให้การลงประชามติในวันรุ่งขึ้นว่า ด้วยสถานภาพในอนาคตของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียไม่สมบูรณ์ มีประเทศสมาชิก 13 ประเศเห็นชอบ ได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก ชิลี อาร์เจนตินา ลิทัวเนีย จอร์แดน ไนจีเรีย ชาด รวันดา ออสเตรเลียและเกาหลีใต้ ส่วนจีนงดออกเสียง วันที่ 16 มีนาคม ชาวไครเมียออกเสียงในการลงประชามติว่า จะเข้าร่วมกับรัสเซียอีกครั้งหรือคืนสู่สถานภาพก่อนรัฐธรรมนูญปี 2535 รัฐมนตรีกลาโหมยูเครนและรัสเซียตกลงพักรบในไครเมียกระทั่งวันที่ 21 มีนาคม

วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียประกาศอิสรภาพจากยูเครนอย่างเป็นทางการ และขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างเต็มตัว รัสเซียรับรองเอกราชของไครเมียในวันเดียวกัน

วันที่ 27 มีนาคม สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติไม่มีผลผูกมัดประกาศให้การลงประชามติไค รเมียที่รัสเซียหนุนหลังเป็นโมฆะ โดยมี 100 ประเทศลงมติรับ 11 ประเทศลงมติไม่รับ และ 58 ประเทศงดออกเสียง

วันที่ 15 เมษายน รัฐสภายูเครนประกาศว่าไครเมียเป็นดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดครองชั่วคราว


• เขตเศรษฐกิจพิเศษ
นายอาคมเติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.)ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เป็นประธาน ได้เห็นชอบให้ประกาศกิจการเป้าหมาย 13 กิจการในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ระดับสูงตามประกาศของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)พร้อมทั้งเห็นชอบกิจการเป้าหมายรายพื้นที่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก สระแก้ว ตราดมุกดาหาร และสงขลา โดยจากนี้สศช. จะไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างประกาศกนพ. ต่อไป

สำหรับกิจการทั้ง13 กิจการ ประกอบด้วยอุตสาหกรรมการเกษตร ประมงและกิจการที่เกี่ยวข้อง ,อุตสาหกรรมเซรามิกส์ ,อุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และเครื่องหนัง ,อุตสาหกรรมผลิตเครื่องเรือน ,อุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับ,การผลิตเครื่องมือแพทย์ ,อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องจักรและชิ้นส่วน ,อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ,การผลิตพลาสติก ,การผลิตยา ,กิจการโลจิสติกส์,นิคมหรือเขตอุตสาหกรรม และกิจการเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

ขณะที่สิทธิพิเศษของการเข้าลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นผู้ที่เข้ามาลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามประกาศ บีโอไอ เช่นได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีได้รับการลดหย่อนสำหรับกำไรสุทธิที่ได้รับจากการลงทุน 50% เป็นเวลา 5 ปี สามารถหักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา ได้ 2 เท่าของค่าใช้จ่ายเป็นเวลา 30 ปีสามารถหักเงินลงทุนในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกได้ 25% ของเงินลงทุน ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก 5ปี และอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมตามที่บีโอไอกำหนด

“ตอนนี้มีเอกชนแสดงความสนใจเข้ามาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษแล้วคือเครือสหพัฒน์ ที่มีพื้นที่ในเขตอ.แม่สอดอยู่แล้ว จะลงทุน 2 เรื่อง ทั้ง อุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม และแฟชั่น และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ ที่ตอนนี้มีเอกชนจะมาขอเช่าพื้นที่ของสหพัฒน์ประกอบกิจการ”

ทั้งนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะที่2 ใน 5 จังหวัด คือ หนองคาย เชียงราย นครพนม นราธิวาส และกาญจนบุรี รวม 63ตำบล ใน 16 อำเภอ แบ่งเป็น หนองคาย 22 ตำบล ใน 5 อำเภอ คือ อ.เมือง อ.สระใคร อ.โพนพิสัยอ.ท่าบ่อ อ.ศรีเชียงใหม่ ,เชียงราย 21 ตำบล ใน 3 อำเภอ คือ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน อ.เชียงของ , นราธิวาส 5 ตำบล ใน 5 อำเภอ คือ อ.สุไหงโกลก อ.ตากใบ อ.แว้งอ.ยี่งอ อ.เมือง ,นครพนม 13 ตำบล ใน 2 อำเภอคือ อ.เมือง อ.ท่าอุเทน และกาญจนบุรี 2 ตำบล ใน 1 อำเภอ คืออ.เมือง

ขณะเดียวกันยังเห็นชอบพื้นที่แปลงที่ดินเพื่อนำมาจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมหรือให้เช่าใน6 เขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 24,817 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นที่ดินของหน่วยงานรัฐ เช่นกรมป่าไม้ คือ จังหวัดตาก 14,858 ไร่ สระแก้ว 2,944 ไร่ ,ตราด 740 ไร่ ,มุกดาหาร 1,085 ไร่ ,สงขลา 1,095 ไร่ และหนองคาย 4,149 ไร่โดยที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยไปจัดทำรายละเอียดด้านกฎหมายและการชดเชยเสนอให้คสช.ออกเป็นคำสั่งให้สามารถนำที่ดินดังกล่าวมาใช้ประโยชน์เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและให้กรมธนารักษ์ดูแล

นายอาคมกล่าวว่า กนพ.ยังเห็นชอบโครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองแม่สอดและสะพานข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่2 บริเวณใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาร์แห่งแรกวงเงินรวม 3,900 ล้านบาท โดยให้ใช้งบกลางปี 58 วงเงิน 500 ล้านบาทดำเนินการระยะแรก พร้อมกับพัฒนาโครงการก่อสร้างด่านศุลกากรบ้านหาดเล็ก จ.ตราด โดยให้กระทรวงต่างประเทศร่วมกับกระทรวงกลาโหม เจรจากับกัมพูชาหาข้อยุติเรื่องเขตแดนและการใช้ประโยชน์พื้นที่ รวมทั้งการพัฒนาด่านถาวร ต.บ้านไร่อ.อรัญประเทศ โดยมอบหมายฝ่ายความมั่นคง เจรจาหาข้อยุติเรื่องการกำหนดพื้นที่ด่านถาวรกับกัมพูชาต่อไป

————————-
จากแหล่งอื่น

ข่าวทั่วไป
• โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา อาการจะมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ และปวดศีรษะ หลังจากนั้นจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เจ็บหน้าอก เจ็บคอ จนกระทั่งอัตราการทางานของตับ และไตลดลง ผู้ป่วยบางรายมีเลือดออก โรคนี้มีอัตราการตายสูงถึง 50% – 90% ของผู้ที่เป็นโรคนี้ การติดเชื้อครั้งแรก เกิดจากคนสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวของสัตว์ติดเชื้อ เช่น ลิง หรือค้างคาวผลไม้ (ระบาดครั้งแรกในซูดาน และคองโก) ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนรักษาโดยตรง (เสียชีวิตแล้วกว่า 1,200 ราย ติดเชื้อกว่า 2,200 คน)
• พายุไต้ฝุ่นรามสูร พายุที่ผ่านฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 20 กค. ที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 คน
• กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้พื้นที่สาธารณะ และที่ทางานทั้งภาครัฐและเอกชนเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่
• คดีสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (พิธีกรและผู้ประกาศข่าวชื่อดัง เจ้าของบริษัท ไร่ส้ม จากัด) ถูกฟ้องเรื่องยักยอกเงินค่าโฆษณาของบริษัท อสมท จนเสียหาย 138 ล้าน !!
• ทหาร 5 คน ที่ยึดอานาจการปกครอง แล้วเป็นนายกรัฐมนตรี ในประวัติศาสตร์ไทย ได้แก่ 1. พระยาพหลพลพยุหเสนา 2. จอมพล ป. พิบูลสงคราม 3. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ 4. จอมพลถนอม กิตติขจร  5. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
• ช็อค ! สามีชาวสวิสเซอร์แลนด์ ยิงขมับ กฤตยา ล่าซา ก่อนยิงตัวตายตาม (เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จากัด (มหาชน))
• พระธรรมปัญญาบดี เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ มรณภาพ (98 ปี)
• จับ 5 จอม : จอมปาด จอมล้า จอมขวาง จอมย้อน และจอมปลอม จับจริง ดีเดย์ 17 กค. จับจริงปรับจริง และยังมีเพิ่มจอมแชท ห้ามแชท / เล่นไลน์บนท้องถนน ปรับ 400 – 1,000 บาท (ติดไฟแดงก็ห้ามเล่น)
• ไมร่า มณีภัสสร เข้ารอบ 8 คนสุดท้าย รายการ Rising Star (เคยชนะรางวัล Thailand’s Got Talent 2011)
• โกศของพระสังฆราช ทาจากงาช้าง
• เหรียญ 10 บาท ปี พ.ศ. 2533 ที่มีข่าวนักสะสมรับซื้อในราคาเหรียญละ 100,000 บาท ซึ่งกล่าวว่ามีผลิตออกมาน้อยมาก (100 เหรียญ) อธิบดีกรมธนารักษ์เผย มีอยู่ในไทย 80 เหรียญ อยู่ในกรมธนารักษ์ 60 เหรียญ และอยู่ในมือนักสะสมอีก 20 เหรียญ

Facebook Comments

You may also like...

ACTGROUP แอ๊คกรุ๊ป ติวสอบท้องถิ่น สอบ กพ. 2562 - 2563 แนวข้อสอบ กพ ธ.ก.ส. รับสมัครสอบ ข่าวสอบราชการ สอบ ก.พ. 2563 รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ งานเอกชน หางานราชการ สมัครงานราชการ และข่าวสารการรับสมัครงานมากมายที่นี่ี 2562-2563