เตรียมสอบ นักการทูต โดยนักการทูตรุ่นพี่
“เตรียมสอบ นักการทูต โดยนักการทูตรุ่นพี่“
ลิงค์: https://ehenx.com/14383/ หรือ
เรื่อง:
เตรียมสอบ นักการทูต โดย นักการทูตรุ่นพี่
ไปเจอบทความเตรียมสอบนักการทูตจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ @cchakariya โดยบังเอิญเลยเก็บมาฝาก คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับผู้เตรียมสอบ นักการทูตปฏิบัติการ กระทรวงการต่างประเทศ ได้ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมสอบตั้งแต่สอบข้อเขียนภาค ก+ข ไปจนถึงภาค ค. สัมภาษณ์ อ่านอย่างไร เตรียมตัวอย่างไร เพื่อสุดท้ายได้ขึ้นบัญชีเรียกบรรจุเป็น.. “นักการทูตปฏิบัติการ”
อ่ะ ในฐานะที่เหลือเวลาอีกแค่ 8 วันจะหมดเขตรับสมัครสอบทูต วันนี้เราจะมารีวิวการอ่านสอบ #นักการทูต ฉบับคนทำงานเลิกดึก เวลานอนยังไม่ค่อยมี ใครมีเพื่อนอยากสอบทูต หรืออยากลองสอบดูสักครั้ง รีไปเลยจ้า
1. ขอเล่าแบ๊คกราวน์ตัวเองก่อน เราจบรัฐศาสตร์การปกครอง แต่ไปเป็นcopywrite+branded content writer+ad planner อยู่สองปีกว่า เป็นสองปีที่ไม่ได้ใช้ความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาเลย แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือได้ใช้ภาษาอังกฤษเรื่อยๆ แบบไม่ใช่ภาษาทางการนัก
2.พอตั้งใจว่าจะสอบ เราไปนั่งดูสัดส่วนข้อสอบก่อน โอเค ภาค ก. ต้องสอบความรู้ทั่วไปบภาษาอังกฤษแบบช้อยส์ + ภาค ข. สอบความรู้เฉพาะทางกับอังกฤษ แบบเขียนเรียงความ แปลบทความ ย่อความ
3.สิ่งแรกที่เราทำคือเริ่มอ่านภาษาก่อน ใช้วิธีเข้าไปดูเว็บไซต์กระทรวง โทนการเขียนเขาประมาณไหน ใช้ tense อะไร แล้วก็ฝึกเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ เป็นการติวทั้งภาค ก. และ ข. ไปในตัว พร้อม ๆ กับเริ่มทำสรุปข่าว คืออ่านข่าวทุกวัน จากหลายๆ สำนัก แล้วเอามาเขียนสรุป + พัฒนาการเหตุการณ์
4. ซึ่งเทคนิคการอ่านข่าว สำหรับภาค ก. คือ อ่านให้หมดทุกอย่าง ข่าวในประเทศ ต่างประเทศ อะไรอิน อะไรเป็นประเด็นร้อน ต้องรู้ให้หมด เพราะของพวกนี้แหละที่มันจะมาอยู่ในช้อยส์ให้เรางงเล่นว่า มาจากไหนวะ
5. นอกจากนี้ พวกนโยบายของกระทรวงฯ และนโยบายรัฐบาลก็อ่านๆ ไว้ด้วย อย่างที่รู้ว่านักการทูตคือการทำงานให้ประเทศ แล้วถ้าเราไม่รู้จริงเกี่ยวกับนโยบายของประเทศ แล้วจะทำงานได้ยังไงใช่มะ
6. เคล็ดลับคือต้องเตรียมทั้ง ก. กับ ข. ไปพร้อมกันเลย อย่าคิดว่าถ้าไม่ผ่านภาค ก แล้วจะเสียเปล่า เพราะพอประกาศผลสอบ ก. ปุ๊บ วันที่สอบ ข. มันห่างกันแค่ไม่ถึงเดือน ถ้าไปเตรียมตอนนั้น ตาเหลือกแน่
7. อีกเคล็ดลับที่แนะนำคือ จงฝึกเขียนเรียงความ คือนอกจากความรู้ที่ต้องมี ต้องรู้ข่าวสารแล้ว การเขียนให้รู้เรื่องก็สำคัญนะ นึกภาพว่าถ้าเราเป็นกรรมการ ตรวจข้อสอบซ้ำๆ กันสองร้อยชิ้น คนที่ลำดับความคิดดี เขียนรู้เรื่อง มันอ่านสบายกว่าอยู่แล้ว
8. ณ ตอนนั้น ที่เริ่มอ่านหนังสือ เรายังทำงานอยู่ เข้างาน 10.00 เลิก 19.00 บางครั้งก็ 20.00 ถึงบ้านสามสี่ทุ่ม ก็จัดตารางเลยว่าถึงบ้านปุ๊บ อาบน้ำกินข้าว 1 ชม. แล้วอ่านหนังสือไปเลย 2 ชม. สลับวิชาไปว่าอยากอ่านอะไร วันเสาร์พักหนึ่งวัน วันอาทิตย์ฝึกเขียนเรียงความ ชีวิตช่วงนั้นทรหดมาก
9. ซึ่งตอนสอบภาค ก. เสร็จ นี่ก็มีท้อนะ คือรู้สึกว่าความรู้ทั่วไปเราตอบผิดไปเยอะอยู่ ข้อที่จำได้คือเขาถามว่า หลินลับแล หลงลับแลคือชื่อของอะไร ซึ่งมันคือทุเรียน แต่เราตอบผิดเพราะเป็นคนไม่กินทุเรียน 555555
10. เดชะบุญจริงๆ ว่าเตรียม ข. ไว้ล่วงหน้าแล้ว พอประกาศผลว่าผ่าน เราเลยตาลีตาเหลือก กลับมาฟิตพาร์ทอื่นๆ เช่นการแปลภาษาไทย-อิ้ง อิ้ง-ไทย เขียนย่อสรุปความ ซึ่งของพวกนี้ไม่มีทางลัดเลยนอกจากฝึกทำบ่อยๆ อ่านเยอะๆ
11. เคล็ดลับภาค ข : อย่าชะล่าใจกับเวลา ระวังเขียนไม่ทัน
12. พาร์ทความรู้เฉพาะทางของภาค ข. ก็จะแบ่งเป็น 4 ข้อ ข้อบังคับให้ทำคือข้อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีก 3 ข้อคือ เศรษฐกิจรว.ปท. กฎหมายรว.ปท. และองค์การรว.ปท. จาก 3 ข้อนี้ให้เลือกทำแค่ 2 ข้อ เคล็ดลับคืออ่าน อ่าน และอ่าน เวลาจะเขียนอะไรขอให้มั่นใจว่าแม่นจริง
13. และนี่คือจุดพีคที่อยากย้ำกับทุกคนว่าให้มีสติมาก ๆ จัดสรรเวลาดี ๆ เพราะเราเองก็เกือบเขียนไม่ทัน และเท่าที่รู้มา มีหลายคนเลยที่ตกม้าตายเพราะเขียนข้อสอบไม่ทัน ทั้ง ๆ ที่อ่านมาอย่างแน่น
14. พอเข้าไปปุ๊บมันจะมีช่วงช๊อคข้อสอบก่อนแน่นอน และมันจะช๊อคไปประมาณสิบห้านาที 55555 เท่ากับเหลือเวลาเขียน 3 ข้อ อีกไม่มาก ฉะนั้นรีบตั้งสติ หมั่นดูนาฬิกา และจัดระเบียบความคิดดี ๆ
15. หลังจากสอบ ข. เสร็จ มีเวลาได้หายใจหายคอแป๊บนึง เราก็เริ่มเตรียมภาค ค. ต่อ อย่างที่รู้กันว่างานของนักการทูตมันไม่ใช่แค่นั่งโต๊ะแล้วทำความเห็นวิชาการ มันต้องคุยกับคน ต้องเจรจา และต้องลงพื้นที่ในหลายครั้ง ดังนั้น ภาค ค. จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ ดูทัศนคติ ดูการอยู่กับผู้คนของเรา
16. เอาจริงๆ ภาค ค. ก็เหมือนการสอบสัมภาษณ์งานแหละ ผู้ว่าจ้างก็ต้องอยากรู้ว่าเราทำอะไรได้บ้าง มีสกิลตรงไหนที่เอามาใช้กับงานได้ จุดเด่นของเราคืออะไรที่ทำให้เขาต้องเลือก
17. สิ่งที่เราทำคือประเมินตัวเองก่อนเลยว่ามีจุดเด่นอะไร ข้อเสียเปรียบของเราคือเราห่างความรู้วิชาการด้านไออาร์ไปนาน (ซึ่งแน่นอนว่าเราไปอ่านเพิ่ม) แต่จุดเด่นของเราคือมีความรู้จากสาขาวิชาอื่น ฉะนั้นเราเอาความรู้ตรงนี้มาทำอะไรให้กระทรวงฯ ให้ประเทศได้บ้าง?
18. อันนี้แนะนำเลยนะสำหรับคนที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มาจากสายไออาร์ หรือรู้สึกว่าตัวเองเรียนสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมา จริง ๆ นักการทูตเปิดให้ทุกวุฒิสามารถสอบได้นะ เพราะต้องการให้มีคนจากหลากหลายสาขาความรู้มาช่วยกัน
19. ในรุ่นเรามีหลายคนที่ไม่ได้ทำงานสายไออาร์ หรือจบไออาร์มา แต่เขารู้ว่าตัวเองมีความพิเศษตรงนั้น และเอามาแสดงให้เห็นว่าเขาช่วยงานกระทรวงฯ ได้ยังไงบ้าง ซึ่งกลายเป็นจุดขายไปอีกด้วย ฉะนั้นอย่าท้อ มาสอบเลย สิ่งที่คุณทำมาอาจเป็นสิ่งที่กระทรวงฯ กำลังต้องการมาก ๆ เลยก็ได้
20. (จบ) เคล็ดลับ ภาค ค. คือ Be a better version of you อย่าเกร็ง อย่าเฟค ร่วมกิจกรรมให้เต็มที่และสนุกไปกับมัน enjoy the moment ซะ ภาคนี้สนุกที่สุดแล้ว เพราะเป็นโอกาสที่เราจะได้สนิทกับเพื่อน ๆ ที่จะต้องทำงานด้วยกันในอนาคต
ขอให้ทุกคนโชคดีค่ะ เจอกันในกระทรวงอย่าลืมทักด้วย!
1. ขอเล่าแบ๊คกราวน์ตัวเองก่อน เราจบรัฐศาสตร์การปกครอง แต่ไปเป็น copywrite+branded content writer+ad planner อยู่สองปีกว่า เป็นสองปีที่ไม่ได้ใช้ความรู้เฉพาะทางที่เรียนมาเลย แต่โชคดีอย่างหนึ่งคือได้ใช้ภาษาอังกฤษเรื่อยๆ แบบไม่ใช่ภาษาทางการนัก
— ชาคริยาผู้ไม่เคยนอนพอ (@CChakariya) January 31, 2021