[recent_post_slider design="design-4" category="6481,5610" limit="30" dots="false" show_read_more="true" show_date="false" show_date="false" show_author="false" show_content="false" ]งานใหม่ล่าสุด!!
  • ไม่มีหมวดหมู่

แจกฟรี!! สรุปย่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

แชร์ให้เพื่อน

แจกฟรี!!

สรุปย่อพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔

ตัวอย่างบางส่วน

ก่อนที่จะมีการใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ เป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่างๆ ใช้กฎหมายใดเป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน

ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ใช้เป็นหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการต่างๆ ใช้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๘ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ เป็นกฎหมายหลักในการบริหารราชการแผ่นดิน เหตุผลที่ต้องมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ก็เพื่อกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆ ให้ชัดเจน มิให้มีการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน เป็นต้น

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับใด

= ฉบับที่ ๘ พ.ศ. ๒๕๕๓ (เป็นการแก้ไขฐานะขององค์กรอัยการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ)

เหตุผลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ (ฉบับที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๕๐) คืออะไร

=   ๑. เพื่อปรับปรุงระบบบริหารราชการให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งเน้นการจัดองค์กรภาครัฐให้สอดคล้องกับทิศทางการนำพาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

๒. เพื่อให้การปฏิบัติราชการสามารถอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

๓. เพื่อให้การบริหารราชการในราชการบริหารส่วนภูมิภาคสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศและให้การบริหารงานแบบบูรณาการในจังหวัดบรรลุผล

หลักการในการบริหารราชการตาม มาตรา ๓/๑ แห่ง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕

=   ม. ๓/๑ กำหนดให้การบริหารราชการตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นไปเพื่อ

  • ประโยชน์สุขของประชาชน
  • เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกจิของรัฐ
  • ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐ
  • การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • การลดภารกิจและการยุบเลิกหน่วยงานที่ไม่จำเป็นการกระจายภารกิจและทรัพยากรให้ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ
  • การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
  • โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน (การประเมินผลการปฏิบัติราชการ)
Facebook Comments

You may also like...

ACTGROUP แอ๊คกรุ๊ป ติวสอบท้องถิ่น สอบ กพ. 2562 - 2563 แนวข้อสอบ กพ ธ.ก.ส. รับสมัครสอบ ข่าวสอบราชการ สอบ ก.พ. 2563 รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ งานเอกชน หางานราชการ สมัครงานราชการ และข่าวสารการรับสมัครงานมากมายที่นี่ี 2562-2563