กทม. เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 6 พ.ย. -19 พ.ย. 2561 รวม 477 อัตรา
“กทม. เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 6 พ.ย. -19 พ.ย. 2561 รวม 477 อัตรา
กทม. เปิดรับสมัครสอบ
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ ครั้งที่ 1/2561
ด้วยสำนักงานคณธกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (สำนักงาน ก.ก.) จะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ
จึงประกาศรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ จำนวน 47 ตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
- กรณีผ่านภาค ก. ก.พ. แล้ว ยื่นแทนการสอบภาค ก. กทม.
- กรณีไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. สอบภาค ก. กทม. ผ่านจะได้รับใบรับรองผลการสอบภาค ก. กทม.เพื่อใช้ในการสอบภาค ข. ครั้งต่อไป
ตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
จำนวน 60 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง พนักงานปกครองปฏิบัติงาน
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
จำนวน 18 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
จำนวน 35 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
จำนวน 20 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
จำนวน 9 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง โภชนาการปฏิบัติงาน
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปวช. ปวส. ปวท. อนุปริญญา
อัตราเงินเดือน 9,400-11,500
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ
จำนวน 10 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,500-15,800
ตำแหน่ง นิติกรปฏิบัติการ
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
จำนวน 14 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
จำนวน 15 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
จำนวน 8 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
จำนวน 16 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
จำนวน 18 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
จำนวน 9 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
จำนวน 30 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
จำนวน 25 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักโภชนาการปฏิบัติการ
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง สถาปนิกปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
จำนวน 4 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
จำนวน 2 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
จำนวน 5 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ
จำนวน 3 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)
จำนวน 6 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
ตำแหน่ง นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ
จำนวน 1 อัตรา
คุณวุฒิ ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน 15,000-15,800
คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติงาน
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางเลขานุการ หรือทางการขาย
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน สาขาวิชาการธนาคารและธุรกิจการเงิน สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคการตลาด หรือสาขาวิชาการตลาด หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการจัดการ หรือสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร หรือสาขาวิชาการตลาด หรืออนุปริญญาปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี ทางการตลาด ทางการเงินและการธนาคาร หรือทางการบริหารทั่วไป
พนักงานปกครองปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการหรือการเลขานุการ หรือสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ หรือทางการเงินและการธนาคาร
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ หรือได้รับอนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางการเงิน หรือทางการเงินและการธนาคาร
พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางช่างกลโรงงาน หรือทางช่างโลหะ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ สาขาวิชาเลขานุการหรือการเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบ วิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ หรือทางการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง งานเครื่องกล ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางไฟฟ้า หรือทางโลหะ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาการก่อสร้าง สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางพาณิชยการ เตาไฟฟ้า ทางช่างโลหะหรือทางช่างกลโรงงานหรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปีต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการตลาด ทางการบัญชี ทางการเลขานุการ ทางการเงิน หรือทางการเงินและการธนาคาร
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ สาขาวิชาก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเครื่องกล
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการธนาคารและธุรกิจการเงิน สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาเทคนิคการตลาด สาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมเครื่องใช้สำนักงาน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาการจัดการ หรือสาขาวิชาบริหารธุรกิจ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร สาขาวิชาการจัดการทั่วไป สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาการก่อสร้าง หรือสาขาวิชาเครื่องกล หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการบัญชี ทางการตลาด ทางการเงินและการธนาคาร หรือทางการบริหารทั่วไป
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาสำรวจ หรือประกาศนียบัตรนักเรียนนายสิบแผนที่ ในสาขาวิชาสำรวจ ทางแผนที่จากกรมแผนที่ทหารบก
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศซกรรมโยธา หรือสาขาวิชาเทคนิคการจัดการงานก่อสร้าง หรือ สาขาวิชาสำรวจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาก่อสร้าง
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาโยธา สาขาวิชาสำรวจ หรือสาขาวิชาการก่อสร้าง
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางการเกษตร หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร สาขาวิชาธุรกิจเกษตรและสหกรณ์ ทางธุรกิจเกษตร สาขาวิชาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ หรือสาขาวิชาพืชศาสตร์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการอนามัย ทางผู้ช่วยพยาบาล ทางการสาธารณสุข หรือทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากประกาศนียับตรมัธยมศึกษาตอนต้น หรือไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
- ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการพยาบาล ทางการพยาบาลและดุงครรภ์ ทางโภชนาการ ทางเซลล์วิทยา ทางการแพทย์แผนไทย หรือทางพนักงานอนามัย ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
- ได้รับประกาศนียบัตรหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการพยาบาล ทางโภชนาการ ทางพยาธิวิทยา หรือทางเซลล์วิทยา ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ทางการสาธารณสุข ทางการสาธารณสุขชุมชน ทางโภชนาการ ทางการแพทย์แผนไทย ทางเวชกิจฉุกเฉิน หรือทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือสขาวิชาโลหะการ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทางเครื่องกล
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาก่อสร้าง
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล สาขาิวชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธา สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมสำรวจ สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กอทรอนิกส์ หรือสาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในทางไฟฟ้า หรือทางอิเล็กทรอนิกส์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาโยธา สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาสำรวจ สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาก่อสร้าง สาขาวิชาเทคนิคโลหะ หรือสาขาวิชาเทคนิคอุสาหกรรม
เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างวิทยุและโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุ ทางช่างโทรคมนาคมทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ทางเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือทางช่างไฟฟ้า หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทางการสื่อสาร ทางสัญญาณวิทยุ หรือทางช่างวิทยุ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า ทางช่างไฟฟ้า หรือสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางช่างไฟฟ้า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางช่างไฟฟ้า
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างอิเล็กทรอนิกส์ ทางช่างโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุและโทรคมนาคม ทางช่างวิทยุ หรือทางช่างไฟฟ้า
โภชนาการปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาการอาหารและโภชนาการ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพาณิชยการ ทางเลขานุการ ทางการเลขานุการ ทางภาษาต่างประเทศ หรือทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษ์ศาสตร์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ ทางเลขานุการ ทางการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ทางคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษศาสตร์ ทางบรรณารักษ์และสารนิเทศศาสตร์
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาการเลขานุการ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์ หรือสาขาวิชาคอมพิวเตอร์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีเคมี สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิคอุตสาหกรรมปิโตรเคมี หรือสาขาวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศ หรือได้รับประกาศนียบัตรเจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ล้างเครื่องกล ทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือทางไฟฟ้า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางเคมีปฏิบัติหรือทางเคมี หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ บางสิ่งทอ
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเคมีสิ่งทอ หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งทอ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางวิทยาศาสตร์ ทางวิศวกรรมศาสตร์ ทางเภสัชศาสตร์ ทางโภชนาการ ทางเคมีปฏิบัติ หรือทางเคมี
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทางศิลปะประยุกต์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางวิจิตรศิลป์ ศิลปะประยุกต์ ทางศิลปกรรม หรือทางออกแบบผลิตภัณฑ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในทางศิลปะประยุกต์
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน
มีคุณวุฒิอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาพณิชยการ ทางเลขานุการ ทางการขาย ทางภาษาต่างประเทศ หรือทางการประชาสัมพันธ์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิคหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเลขานุการ สาขาวิชาเทคนิคการตลาด หรือสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 2 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์
- ได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการเลขานุการ สาขาวิชาการตลาด หรือสาขาวิชาการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ หรืออนุปริญญาหลักสูตร 3 ปี ต่อจากประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาภาษาวรรณคดี
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์
เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ หรือสาขาวิชานิติศาสตร์
เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันและได้รับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
นิติกรปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันทุกสาขาวิชา
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางคอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาหรือทางที่มีการศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางโสตทัศนศึกษา หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาภาษา วรรณคดี สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางวารสารศาสตร์ หรือทางสื่อสารมวลชน สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางคณิตศาสตร์ หรือทางสถิติ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทางจิตวิทยา
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางจิตวิทยา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ หรือสาขาวิชารัฐศาสตร์ ถ้าสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับอนุญาต
นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางการคลัง
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ ทางการพาณิชย์ ทางการตลาด ทางการเงิน ทางการเงินและการธนาคาร ทางการจัดการ หรือทางการบัญชี หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอนามัยสิ่งแวดล้อม ทางอาชีวอนามัย ทางอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทางสุขาภิบาล ทางสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทางสิ่งแวดล้อม ทางวิทยาศาสตร์สุขาภิบาล หรือสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล หรือทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งทางโสตทัศนศึกษา ทางเทคโนโลยีการศึกษา ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา การเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา ทางครุศาสตร์เทคโนโลยี หรือทางเวชนิทัศน์ หรือสาขาวิชานิเทศศาสตร์ ทางนิเทศศาสตร์ ทางวารสารศาสตร์ ทางสื่อสารมวลชน หรือทางนิเทศศาสตร์การพัฒนา
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ทางวิศวกรรมสุขาภิบาล ทางวิศวกรรมชลประทาน หรือ ทางวิศวกรรมโครงสร้าง และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร
นักโภชนาการปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์
สถาปนิกปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาสถาปัตยกรรม และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ หรือสาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ ทางประชากรศาสตร์
บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางบรรณารักษ์ศาสตร์ ทางบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ ทางบรรณารักษ์ศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทางสารสนเทศศึกษา หรือทางสารนิเทศศาสตร์
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ ทางสถิติ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางประชากรศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางธรณีวิทยา หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่าง ทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ทางผังเมือง ทางสิ่งแวดล้อม ทางการเกษตร ทางชีววิทยา ทางฟิสิกส์ ทางสุขศึกษา ทางโภชนวิทยา ทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป หรือทางเคมี
นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชารัฐศาสตร์ ทางบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ โบราณคดี สาขาวิชาสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ สาขาวิชาศิลปะ วัฒนธรรม หรือสาขาวิชาภาษา วรรณคดี
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ทางอาหารและโภชนาการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง าทงบรรณารักษศาสตร์ ทางจิตวิทยา หรือทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางพลศึกษา หรือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ทางพลศึกษา หรือทางวิทยาศาสตร์การกีฬา
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน
**โปรดอ่านเพื่อผลประโยชน์ของท่านเอง
- ผู้สมัครสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปที่มีหลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่ยังไม่หมดอายุการรัรองผลการทดสอบจาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ตามเงื่อนไขที่ ก.ก. กำหนด ในตารางแนบท้ายประกาศนี้ สามารถนำมาใช้แทนผลการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษในภาคความรู้ความสามารถทั่วไปได้โดยให้ส่งสำเนาหลักฐานดังกล่าวพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องลงลายมือชื่อกำกับ ระบุเลขประจำตัวสอบ และเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่กองสรรหาบุคคล สำนักงาน ก.ก. ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) เลขที่ 173 ถนนดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 ในวันและเวลาราชการ ก่อนวันสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป เท่านั้น หากส่งทางไปรษณีย์ให้วงเล็บที่มุมซองด้านขวาล่างว่า (หลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษ) ทั้งนี้ สำนักงาน ก.ก. จะถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับเอกสารเป็นสำคัญเงื่อนไขผลการทดสอบภาษาอังกฤษ จาก TOEFL (ไม่รวม TOEFL ITP) TOEIC IELTS CU TEP หรือ TU GET ผู้สอบจะต้องยื่นหลักฐานรับรองผลการทดสอบภาษาอังกฤษที่ยังไม่หมดอายุการรับรองผลการทดสอบต่อสำนักงาน ก.ก. ก่อนวันสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป
- TOEFL >= 45 คะแนน (คะแนนเต็ม 120)
- TOEIC >= 420 คะแนน (คะแนนเต็ม 990)
- IELTS >= 4 คะแนน (คะแนนเต็ม 9)
- CU TEP >= 45 คะแนน (คะแนนเต็ม 120)
- TU GET >= 350 คะแนน (คะแนนเต็ม 1,000)
- กรณีผู้สมัครสอบรายใดเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ตามระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่าแล้ว สามารถใช้หนังสือรับรองผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถท่วไปของสำนักงาน ก.พ. แทนการสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครได้สำหรับผู้ที่สมัครสอบที่ยังไม่ได้เป็นู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. ในระดับวุฒิการศึกษาที่ใช้สมัครสอบหรือในระดับที่สูงกว่า จะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดภาความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครในครั้งนี้ และหากผู้สมัครสอบดังกล่าวเป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องตรงตามประกาศรับสมัครสอบฯ กรุงเทพมหานครจะขึ้นบัญชีและจัดทำทะเบียนเป็นผู้สอบผ่านการวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไปของกรุงเทพมหานครต่อไป
- ผู้สมัครสอบจะต้องสอบตามหลักสูตรทุกภาค โดยจะต้องสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (สามารถนำผลการสอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไปของสำนักงาน ก.พ. มาใช้แทนได้) และสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งก่อน เมื่อสอบผ่านทั้ง 2 ภาคแล้ว จะมีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง
ก. การสอบเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 200 คะแนน) ดังต่อไปนี้
- วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (คะแนนเต็ม 150 คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน
- ด้านการคิดคำนวณ ทดสอบความสามารถในการประยุกต์ใช้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของจำนวนหรือปริมาณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณต่างๆ
- ด้านเหตุผล ทดสอบความสามารถในการคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงของคำ ข้อความ หรือรูปภาพ การคิดวิเคราะห์ การหาข้อยุติ หรือข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ สถานการณ์หรือแบบจำลองต่างๆ
- ด้านภาษา ทดสอบความสามารถในการอ่าน และการทำความเข้าใจกับบทความ หรือข้อความที่กำหนดให้แล้วตอบคำถามที่ตามมาในแต่ละบทความ หรือข้อความ การสรุปความ ตีความ และการใช้ภาษา การเลือกใช้คำ หรือกลุ่มคำ การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา และการเรียงข้อความ
- วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน) โดยวิธีสอบข้อเขียน ทดสอบความสามารถด้านการพูด เขียน อ่าน และฟังภาษาอังกฤษ และความเข้าใจในสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น
ข. การสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
ทดสอบความรู้ความสามารถที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ โดยวิธีสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติ ตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งที่รับสมัครสอบแข่งขันฯ ครั้งที่ 1/2561
ค. การสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)
ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ โดยวิธีดังนี้
- การประเมินจิตวิทยา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
- การทดสอบสมรรถนะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยวิธีสอบข้อเขียน
- การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการ สมรรถนะ และหรือความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติงาน
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการบัญชีทั่วไป งบประมาณ และการเงิน เช่น การจัดทำบัญชีเงินสด บัญชีเงินฝากธนาคาร บัญชีแยกประเภท บัญชีย่อยต่างๆ การจัดทำรายงานทางการเงิน การตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีและเงินฝากธนาคาร การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี การตั้งฎีกาเบิกเงินและตรวจสอบใบสำคัญเบิกเงิน เป็นต้น
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ.2555
พนักงานปกครองปฏิบัติงาน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการทะเบียนและปกครอง ได้แก่
- ด้านการทะเบียนราษฎร์ ได้แก่ การแจ้งย้ายเข้า-ออก การแจ้งเกิด การแจ้งตาย
- การทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน
- การทะเบียนทั่วไป ได้แก่ การจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนหย่า การจดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียนรับรองบุตรบุญธรรม
- ด้านการทะเบียนปกครอง ได้แก่ การจดทะเบียนพินัยกรรม การจดทะเบียนมูลนิธิ สมาคม การจดทะเบียนพาณิชย์
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่
- พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2555)
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติการจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3
- พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2555)
- พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ( รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 3 พ.ศ 2554)
- ความรู้เกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
- นโยบายผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด 1 ภารกิจพิเศษ 5 นโยบายทันใจและ 19 ภาระกิจผลักดันทันที
พนักงานเทศกิจปฏิบัติงาน
การสอบข้อเขียน (คะแนนเต็ม 200 คะแนน)
- สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- อำนาจของเจ้าหน้าที่เทศกิจในการบังคับการตามกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ เช่น การจับ การปรับ การดำเนินคดี การยึดอายัด
- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติการขุดดินและการถมดิน พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่อยู่ของการบังคับการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2545
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560
การสอบปฏิบัติ
ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้
- วิ่ง ระยะทาง 50 เมตร
- ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
- ลุกนั่ง ภายในเวลา 1 นาที
- ยึดพื้นหรือดันข้อ ภายในเวลา 1 นาที
ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพร่างกายจะไม่มีการกำหนดคะแนน และใช้เกณฑ์การตัดสิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
เจ้าพนักงานพัสดุปฏิบัติงาน
- ความรู้เกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- การจัดหา จัดซื้อ ว่าจ้าง การเก็บรักษา นำส่ง การซ่อมแซม และบำรุงรักษาพัสดุ ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์สำนักงานต่างๆ
- ทะเบียนการเบิกจ่ายพัสดุ การเก็บรักษาใบสำคัญ หลักฐานและเอกสารเกี่ยวกับพัสดุ
- ร่างและตั๋วสัญญาซื้อ สัญญาจ้าง หนังสือโต้ตอบ บันทึกย่อเรื่องเกี่ยวกับงานพัสดุ
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ. 2555
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบงานสารบรรณกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 46 และระเบียบงานสารบรรณสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2526
- จรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานด้านพัสดุ พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- กฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- กำหนดให้หน่วยงานอื่นเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผู้มีสิทธิ์ขอขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ พ.ศ. 2560
- กำหนดพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน และกำหนดวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีคัดเลือก และวิธีเฉพาะเจาะจง พ. ศ. 2560
- กำหนดวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจงวงเงิน การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่ทำข้อตกลงเป็นหนังสือ และเป็นการจัดซื้อจัดจ้างในการแต่งตั้งผู้ตรวจรับพัสดุ พ.ศ. 2560
- กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขึ้นทะเบียนที่ปรึกษา พ.ศ.2560
- กำหนดอัตราค่าจ้างผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้าง พ.ศ.2560
- กำหนดเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐที่ใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่ได้ พ.ศ. 2560
- กำหนดกรณีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุโดยวิธีเฉพาะเจาะจง พ.ศ.2560
นายช่างสำรวจปฏิบัติงาน
- ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานด้านช่างสำรวจ ได้แก่
- หน้าสำรวจที่เกี่ยวกับการเก็บรายละเอียดสภาพภูมิประเทศ
- งานวงรอบที่เกี่ยวกับวงรอบชนิดต่างๆ การตรวจสอบและปรับแก้วงรอบ
- งานระดับที่เกี่ยวกับการหาค่าระดับภูมิประเทศ เช่น การหาความสูงต่ำของพื้นที่ การเขียนค่าเส้นชั้นความสูง การหาค่าดินตัดดินถม
- งานจำนวนและเขียนแผนที่ เช่น การคำนวณระยะ การคำนวณพื้นที่จากค่าพิกัดฉาก สัญลักษณ์ต่างๆ ในงานแผนที่
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม เช่น ประโยชน์ของภาพถ่าย หลักการแปลภาพถ่าย
- ความรู้เกี่ยวกับระวางแผนที่
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดทำแผนที่ด้วยดาวเทียม (GNSS)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ (GIS)
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้ในงานเขียนแผนที่ เช่น โปรแกรม Autocad
- ความรู้เกี่ยวกับการดูแล บำรุง รักษา เครื่องมือสำรวจ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในงานดูแลรักษาที่สาธารณะ
- พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 12 พ.ศ. 2552
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
เจ้าพนักงานการเกษตรปฏิบัติงาน
- หลักพฤกษศาสตร์เบื้องต้น การจำแนกพืช
- การปรับปรุงพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชรูปแบบต่างๆ เช่น การเพาะเมล็ด การติดตาต่อกิ่ง การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นต้น
- การดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ การปลูก การปรับปรุงดิน การให้ปุ๋ย การให้น้ำ การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม การค้ำยัน การศัลยกรรม การล้อมย้าย
- การจัดภูมิทัศน์ ได้แก่ การออกแบบ การตกแต่งเพื่อจัดภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อม
- การส่งเสริมการเกษตร ฝึกอบรม และเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่
- เศรษฐกิจการเกษตร การพัฒนาธุรกิจการเกษตร และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร
- การประมงทั่วไป และสัตวศาสตร์เบื้องต้น
- เครื่องจักรกลการเกษตร และอุปกรณ์การเกษตรประเภทต่างๆ
- เทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตร และการนำนวัตกรรมมาใช้
เจ้าพนักงานพัฒนาสังคมปฏิบัติงาน
- แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและการสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย การจัดตั้งชุมชน การเลือกตั้งกรรมการชุมชน การยกเลิกการเป็นชุมชน การรื้อย้ายชุมชน การจัดตั้งกลุ่มอาชีพ การฝึกอาชีพ การสนับสนุนการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ส่งเสริมการออกกำลังกาย การจัดการสภาเด็กและเยาวชน การสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจชุมชน อนุรักษ์ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการท่องเที่ยว
- ทักษะและประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์
- เทคนิคการประสานงาน
- เทคนิคการให้คำแนะนำ
- เทคนิคการประชาสัมพันธ์
- เทคนิคการไกล่เกลี่ยและประนีประนอม
- เทคนิคการสร้างการมีส่วนร่วม
- ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนของกรุงเทพมหานคร
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยชุมชนและกรรมการชุมชน พ.ศ.2555
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการสนับสนุนการพัฒนาชุมชน พ.ศ.2554 และ พ.ศ.2556 (ฉบับที่ 3)
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยสภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2560
- ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสังคมสงเคราะห์
- ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
- ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ พ.ศ.2557
เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานสาธารณสุขเบื้องต้น ได้แก่
- หลักการพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR : Cardio Pulmonary Resuscitation)
- การควบคุมและป้องกันโรค
- การส่งเสริมสุขภาพอนามัย การวางแผนครอบครัว งานอนามัยแม่และเด็ก งานอนามัยโรงเรียน งานโภชนาการ
- งานทางด้านระบาดวิทยา การเฝ้าระวังโรค การสอบสวนโรค
- งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานอาชีวอนามัย สุขาภิบาลอาหาร
- งานสุขศึกษา เผยแพร่ อบรม สาธิตให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุข
- การวิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา การเขียนโครงการและประเมินโครงการ
- กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุข ได้แก่
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2550 และ พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2561
- พระราชบัญญัติการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น พ.ศ. 2559
- พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิตามหลักประกันสุขภาพ ประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน ประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว และสิทธิผู้ป่วย
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
การบำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง แผนงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะใช้กับเครื่องจักรกลยานพาหนะและเครื่องทุ่นแรง การออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การใช้เครื่องมือวัดละเอียด การสอบเทียบเครื่องมือวัดละเอียด การเชื่อมโลหะ การดูแล จัดเก็บ บำรุงรักษาเครื่องมือช่างอย่างถูกวิธี รวมทั้งการใช้งานอย่างถูกต้อง การดูแล จัดเก็บ จัดหาวัสดุมาใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำรายงาน การจัดเก็บข้อมูลสถิติด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การให้คำปรึกษา แนะนำเกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่กับผู้รับบริการหรือประชาชนทั่วไป และมีความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางช่างในปัจจุบัน เทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่
นายช่างเทคนิคปฏิบัติงาน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านเทคนิคต่างๆ เช่น ซ่อม สร้าง ประกอบ บำรุงรักษา ดัดแปลง ออกแบบ ติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า ปั๊มน้ำ เครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ (ซิลเลอร์) เครื่องจักร เครื่องยนต์ โลหะ เครื่องมือเกี่ยวกับอุปกรณ์งานช่าง งานทางด้านสาธารณูปโภค อุปกรณ์ทางการแพทย์ เครื่องจักรกล เครื่องวิทยุคมนาคม งานโครงสร้างอาคาร การประหยัดพลังงาน เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ รวมทั้งมีความรู้ในเรื่องการคำนวณรายการและประมาณราคาค่าอุปกรณ์เพื่อใช้ในการประมาณราคา การจัดซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อพื้นที่และการใช้งาน
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
เจ้าพนักงานสื่อสารปฏิบัติงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสื่อสาร ได้แก่ กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการใช้วิทยุคมนาคมตามประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หลักการติดต่อสื่อสารที่กรุงเทพฯใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น Digital Trunked Radio System ระบบสารสนเทศต่างๆ หลักปฏิบัติในการติดต่อสื่อสาร การใช้วิทยุสื่อสารคมนาคม การบำรุง ดูแล รักษาเครื่องมือสื่อสารในระบบต่างๆ การนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม เป็นประโยชน์กับงานที่ปฏิบัติ
โภชนาการปฏิบัติงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางโภชนาการ ได้แก่ การกำหนดรายการอาหารตามหลักโภชนาการ และโภชนบำบัดสำหรับโรคต่างๆ และกลุ่มวัยต่างๆ การกำหนดอาหารตามแผนการรักษาของแพทย์ การจัดทำรายการอาหารหมุนเวียน การคำนวณปริมาณอาหารจำนวนมาก การคำนวณพลังงานและสารอาหารโดยใช้อาหารแลกเปลี่ยน และการประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่มาทดแทนรายการอาหารต่างๆ อย่างเหมาะสม การวางแผน ควบคุม ดูแลและสั่งซื้อวัสดุเครื่องบริโภคที่นำมาประกอบอาหาร การควบคุมและการวางแผนการรับ-เบิกจ่ายวัสดุเครื่องบริโภคของหน่วยงานแต่ละวันให้อยู่ในวงเงินงบประมาณที่ทางราชการกำหนดตามระเบียบ รวมถึงจัดเตรียม ดูแล บำรุงรักษา เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ เพื่ออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเป็นไปตามมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร การตรวจสอบใบเบิกอาหาร แยกประเภทให้ถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ เพื่อนำไปประกอบอาหารและตรวจสอบก่อนให้บริการแก่ผู้ป่วย มีความรู้ด้านงานพัฒนาคุณภาพ เช่น HA ( Hospital Acceditation) การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานบริการอาหาร เช่น การเก็บ รวบรวมข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การจัดทำฐานข้อมูล สถิติต่างๆ เพื่อทำรายงาน การให้คำแนะนำอาหารตามหลักโภชนาการ โภชนบำบัด อีกาผู้ป่วยและญาติ ตลอดจนประชาชนทั่วไป เพื่อให้มีความรู้ความสามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ การประสานงาน และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
เจ้าพนักงานห้องสมุดปฏิบัติงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานห้องสมุด พิจารณาเสนอแนะในการจัดหาและคัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ และบันทึกลงฐานข้อมูลระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ให้บริการตอบคำถามช่วยค้นคว้าข้อมูล แล้วแต่ความสะดวกแก่ประชาชนที่ใช้บริการ การเตรียมหนังสือพร้อมให้บริการ ควบคุม ดูแล และซ่อมแซมหนังสือที่ชำรุด จัดนิทรรศการและประชาสัมพันธ์ห้องสมุดเพื่อชักจูงให้ประชาชนมาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น เก็บรวบรวมสถิติและจัดทำรายงานประจำเดือน/ประจำปีของห้องสมุด ดูแล เก็บรักษา ซ่อมแซมหนังสือเพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมให้บริการ อาคาร สถานที่ วัสดุและครุภัณฑ์ของห้องสมุด
เจ้าพนักงานสถิติปฏิบัติงาน
ความรู้ความสามารถด้านสถิติข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ การจัดทำฐานข้อมูล การเรียบเรียง/จัดลำดับข้อมูล ประมวลผล วิเคราะห์ข้อมูลและแปลความหมายข้อมูล ทำแผนภาพทางสถิติ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมพื้นฐานได้อย่างเหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ. 2550 ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์ปฏิบัติงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายของกรุงเทพมหานครด้านสิ่งแวดล้อม งานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการบริหาร การจัดเตรียมเครื่องแก้ว เครื่องมือวิทยาศาสตร์ การเก็บรักษาวัสดุวิทยาศาสตร์ เคมีภัณฑ์ การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่าง มูลฝอย ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำและตะกอนจากแม่น้ำ คลอง สระน้ำ บึง ระบบบำบัดน้ำเสียต่างๆ การจัดเตรียมอุปกรณ์ ดูแลรักษาเครื่องมือ เคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน การปรับตั้งเครื่องมือให้ได้ความเที่ยงตรง แม่นยำ และถูกต้องตามลักษณะงาน การเตรียมสารเคมี การคํานวณความเข้มข้นของสารเคมีเบื้องต้น รวบรวมข้อมูลให้นักวิทยาศาสตร์ ให้คำแนะนำและคำปรึกษาแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานศิลป์ที่เกี่ยวกับการร่างและออกแบบ ภาพ ตัวอักษร บอร์ด ป้ายประกาศ ป้ายโฆษณา สื่อสิ่งพิมพ์ นิทรรศการ ฉาก วิธี ซุ้ม ตกแต่งสถานที่ ปั้นภาพและจำลองแบบให้ถูกต้องตามรายละเอียดทางวิชาการ การใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการออกแบบงานศิลป์
- สอบข้อเขียน จำนวน 50 ข้อ (คะแนนเต็ม 50 คะแนน)
- สอบภาคปฏิบัติ จำนวน 3 ข้อ (คะแนนเต็ม 150 คะแนน)
เจ้าพนักงานประชาสัมพันธ์ปฏิบัติงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- จรรยาบรรณของนักประชาสัมพันธ์
- นโยบายกรุงเทพมหานคร นโยบายรัฐบาล
ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ
เจ้าพนักงานเทศกิจปฏิบัติการ
การสอบข้อเขียน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ การกำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติงาน การจัดทำแผน การวางแผน การข่าว การใช้กำลังคนด้านเทศกิจ การควบคุม ดูแล การตรวจตราพื้นที่สังกัดความผิดปกติของวัตถุสิ่งของหรือบุคคล การเฝ้าระวังการดำเนินการต่างๆ ของประชาชน การปฏิบัติงานมวลชนสัมพันธ์
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ
- บทบาทและอำนาจของเจ้าหน้าที่เทศกิจในเรื่องการจับ การปรับ การดำเนินคดี การยึดอายัดเอกสารหลักฐาน ยานพาหนะ หรือสิ่งใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความเข้าใจในกฎหมายปกครองเพื่อป้องกันการถูกดำเนินคดีทางปกครอง การดำเนินการทางปกครอง
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม การบังคับที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร
- พระราชบัญญัติการขุดค้น และการถมดิน พ.ศ. 2543
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ.๒๕๔๕
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแบ่งค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบให้แก่ผู้แจ้งความนำจับตามกฎหมายว่าด้วยการรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2560
สอบปฏิบัติ
ผู้สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ซึ่งจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้
- วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร
- ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
- ลุกนั่ง ภายในเวลา 1 นาที
- ยึดพื้นหรือดันข้อ ภายในเวลา 1 นาที
ทั้งนี้ การทดสอบสมรรถภาพร่างกายจะไม่มีการกำหนดคะแนน และใช้เกณฑ์การตัดสิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” ผู้ที่ผ่านการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
เจ้าพนักงานปกครองปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านการปกครอง ได้แก่
- การเมืองการปกครองและการเลือกตั้งระดับชาติ การประชามติ การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร
- กฎหมายปกครองท้องที่ การทะเบียนปกครอง
- กฎหมายทะเบียนราษฎร ทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนทั่วไป
- กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อยและการดำเนินงานเกี่ยวกับมวลชน
- การวางแผน การจัดทำโครงการ การฝึกอบรม และการประสานงาน
- ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนและการประชาสัมพันธ์งานในอำนาจหน้าที่
- ความรู้เกี่ยวกับการให้บริการประชาชนตามพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยปฏิบัติการ
การสอบข้อเขียน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ วิจัย การวางแผนเพื่อระงับอัคคีภัย การป้องกันและบรรเทาอันตรายจากอุทกภัย วาตภัย และภัยอื่นๆ รวมทั้งทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฟื้นฟูและบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
- พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
- พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
- กฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) กฎกระทรวงฉบับที่ 39 ( พ.ศ. 2537) กฎกระทรวงฉบับที่ 47 ( พ.ศ. 2540) กฎกระทรวงฉบับที่ 50 ( พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวงฉบับที่ 55 ( พ.ศ. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
- กฎกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555
- ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 28
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ.๒๕๔๔
- แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2558- 2562
- ประกาศกระทรวง เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552
- พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- กฎกระทรวงกำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. 2555
- เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
การสอบปฏิบัติ
ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งจะต้องเข้ารับการทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จึงจะต้องทดสอบผ่านทุกข้อจึงจะถือว่า “ผ่าน” ดังนี้
- วิ่ง ระยะทาง 1000 เมตร
- ว่ายน้ำ ระยะทาง 50 เมตร
- ทดสอบความพร้อมในการปฏิบัติงานด้วยท่าต่างๆ
- ดึงข้อ ชาย 10 ครั้ง หญิง 5 ครั้ง
- หลักบันไดตามช่องที่กำหนดไว้ ทำเวลาไม่เกิน 15 วินาที
- แบบตุ๊กตาน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ทำเวลาไม่เกิน 45 วินาที
- ยึดพื้นหรือดันข้อ 20 ครั้ง ภายในเวลา 1 นาที
ทั้งนี้ การทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกาย จะไม่มีการกำหนดคะแนนและใช้เกณฑ์การตัดสิน ผ่าน และ ไม่ผ่าน ผู้ที่ผ่านการทดสอบการปฏิบัติงานเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายจึงจะมีสิทธิเข้ารับการประเมินในภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
นิติกรปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายพื้นฐาน
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
- ประมวลกฎหมายอาญา
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- ความรู้ความเข้าใจอย่างดียิ่งในเนื้อหาของกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
- สถานการณ์ทั่วไปของกรุงเทพมหานคร
- บริบทการพัฒนาของกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และภูมิภาคอาเซียน ในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม
- วิสัยทัศน์การพัฒนากรุงเทพมหานคร
- แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร 20 ปี (พ.ศ. 2556- 2575)
- นโยบายผู้บริหารกรุงเทพมหานคร
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์นโยบายและแผน
- นักวิเคราะห์นโยบายภาครัฐ และนโยบายสาธารณะ
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT) ขององค์กร
- การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
- การกำหนดตัวชี้วัดระดับประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการ
- การกำหนดแผนงาน โครงการ และกิจกรรมที่สอดคล้องกับนโยบาย และแนวทางการพัฒนาองค์กร
- การนำนโยบายและแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
- การติดตามประเมินผลนโยบาย แผนทุกระดับ โครงการ และกิจกรรม
- การจัดทำรายงานผลการดำเนินการ และการนำเสนอรายงาน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์วิจัย
- ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติเบื้องต้น
- หลักการและกลยุทธ์การบริหารความเสี่ยง
- การวิเคราะห์โครงการ
- การบริหารจัดการงบประมาณ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560- 2579)
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564)
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และฉบับแก้ไขปรับปรุง
- กฎกระทรวงว่าด้วยผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะในการทำงาน
- ภาพลักษณ์องค์กร
- หลักการและเทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ
- มนุษยสัมพันธ์ การประสานงาน การมีส่วน
- การสื่อสาร การประชาสัมพันธ์
- การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการข้อมูล
- การถ่ายทอดความรู้ และการให้คำปรึกษา
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
- ความหมายของคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)
- การเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนของกระบวนการทำงาน (Flow Chart)
- การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรม
- การบริหารจัดการและการควบคุมการนำระบบ Social Network มาใช้ในการทำงาน
- การบริหารจัดการภัยคุกคามทางด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร
- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัล
- ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ
- ทักษะด้านความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ( Digital literacy Skill)
- คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การบริหารจัดการโครงการ ( Project Management)
- การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านระบบงานคอมพิวเตอร์ ได้แก่
- การติดตั้ง ตรวจสอบ ดูแล บำรุงรักษา ซ่อมแซมเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบโปรแกรมและระบบเครือข่าย รวมถึงบำรุงรักษาสภาพการทำงานของระบบ
- การจัดทำ รวบรวม วิเคราะห์วิธีการและลำดับการประมวลผลข้อมูลเพื่อเลือกระบบและวางแผนการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์
- การรวบรวม จัดทำ จัดเก็บ ดูแล ตรวจสอบ ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์
- การวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์
- การให้คำแนะนำ แก้ไขปัญหาการใช้คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ และระบบโปรแกรม
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
- การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนา เกี่ยวกับด้านต่างๆ ดังนี้
- การปรับปรุงพันธุ์พืชและการขยายพันธุ์ และอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
- การปรับปรุงวิธีการผลิตพืชโดยใช้นวัตกรรมทางการเกษตร
- การใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน การอารักขาพืช
- การปรับปรุงดินและน้ำเพื่อการเกษตร
- การเก็บรักษาผลผลิต การพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร และธุรกิจการเกษตร
- การสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลผลิต และแหล่งผลิตทางการเกษตร
- การส่งเสริม และเผยแพร่ด้านการเกษตร และเทคโนโลยีทางวิชาการเกษตร
- การส่งเสริมและปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดีของกรุงเทพมหานคร และการสร้างระบบนิเวศป่าในเมือง
- การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตร
- การช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบสาธารณภัย
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
- ความรู้ความสามารถทางวิชาการในการปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ ดังต่อไปนี้
- การติดต่อสื่อสาร การสำรวจรวบรวม รับฟังความคิดเห็นของประชาชนและสื่อมวลชน
- การวางแผนประชาสัมพันธ์ การจัดทำแผนหรือกลยุทธ์ การประชาสัมพันธ์ตามโครงการและภารกิจความรับผิดชอบของหน่วยงาน
- การดำเนินการประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น การเขียนข่าว การเผยแพร่ข่าว การแถลงข่าว การจัดสัมมนา การจัดประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ การจัดนิทรรศการ เป็นต้น
- เทคนิคการกระจายสื่อไปสู่กลุ่มเป้าหมาย การกำหนดหรือการเลือกสื่อประชาสัมพันธ์
- การติดตาม รวบรวมข้อมูลเพื่อการผลิตข่าวสาร
- เทคนิคการผลิตรายการ ผลิตบทความเพื่อเผยแพร่ การประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร
- เทคนิคและวิธีการประชาสัมพันธ์ในที่สาธารณะ การพูดในที่สาธารณะ เช่น การเป็นพิธีกร การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ การโน้มน้าว
- การวิเคราะห์ข่าว เพื่อนำเสนอหรือเพื่อพิจารณา การชี้แจงข่าว การติดตามประเมินผลการประชาสัมพันธ์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การใช้เทคนิคในการประชาสัมพันธ์เชิงรุก การประชาสัมพันธ์ในยุคไทยแลนด์ 4.0
- การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น สื่อโซเชียลมีเดีย
- การจัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
- กฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ ได้แก่
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560
- แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
- หลักวิชาการเงิน ภาษีอากร รับเงิน การจ่ายเงิน
- หลักการบัญชี การจัดทำงบการเงิน งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร หลักการบัญชีคู่ ตรวจสอบบัญชีการเงินเบื้อง
- หลักวิชาการงบประมาณ การวิเคราะห์งบประมาณ และการบริหารงบประมาณ
- หลักวิชาการพัสดุและทรัพย์สิน
- ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติงาน
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติการจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง วิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2529 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2555
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ-รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงินและการตรวจเงิน พ.ศ.2555 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
- พระราชบัญญัติการอํานวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558
- แผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี
นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
- นโยบายด้านการศึกษา
- แผน/โครงการ
- มาตรฐานการศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาทุกระดับ
- เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- สื่อการเรียนการสอน
- การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
- การประกันคุณภาพการศึกษา
- การประเมินผลการจัดการศึกษา
- พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
- แผนการศึกษาแห่งชาติ
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554
นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ
- ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคมที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการสังคม งานสังคมสงเคราะห์ และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร เช่น สังคมของผู้สูงอายุ เครือข่ายสังคมออนไลน์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม เป็นต้น
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายสังคมที่เกี่ยวข้องกับงานสังคมสงเคราะห์และพิทักษ์สิทธิผู้รับบริการ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยความพิการ สิทธิผู้ป่วย เป็นต้น
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ในระดับจุลภาค มหภาค จรรยาบรรณ และมาตรฐานวิชาชีพ
- ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือในการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์แก่ผู้รับบริการทุกกลุ่มเป้าหมาย การประสานงาน เครือข่ายการช่วยเหลือสังคม และการทำงานในเชิงสหวิชาชีพ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ ได้แก่
- พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕
- พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
- พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2560
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตและคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2556
- พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2553
- พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550
- พระราชบัญญัติคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ.2557
- พระราชบัญญัติวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ.2556
นักวิชาการจัดเก็บรายได้ปฏิบัติการ
- การภาษีอากร การพาณิชย์ เศรษฐศาสตร์ และสถิติ ได้แก่
- การจัดเก็บภาษี ได้แก่ การติดตาม กระสอบ การประเมิน เร่งรัดภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ
- การป้องกันและปราบปรามการหลีกเลี่ยงภาษี
- กฎหมาย ระเบียบ แล้วก็บังคับที่เกี่ยวข้อง พ่อแก่
- พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- พระราชบัญญัติจัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาล สุขาภิบาล พ.ศ.2503
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2554
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเก็บภาษีบำรุงกรุงเทพมหานครสำหรับน้ำมันเบนซินและน้ำมันที่คล้ายกัน น้ำมันดีเซลและน้ำมันที่คล้ายกัน และก๊าซปิโตรเลียมจากสถานการณ์ค้าปลีก พ.ศ.2558
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการยึดอายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษี พ.ศ.2546
- รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรายได้ของกรุงเทพมหานคร
- เหตุการณ์ปัจจุบันในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
นักวิชาการตรวจสอบภายในปฏิบัติการ
- ความรู้เบื้องต้นด้านการบัญชี การตรวจสอบภายใน การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือธรรมาภิบาล
- กฎหมาย กฏ ระเบียบ และข้อบังคับที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ เช่น
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการตรวจสอบภายในของกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2548
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561
- ระเบียบเกี่ยวกับการงบประมาณการเงิน การคลัง และพัสดุของกรุงเทพมหานคร ฯลฯ
- ความรู้เบื้องต้นด้านคอมพิวเตอร์และการใช้งานในหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักวิชาการพัสดุ ได้แก่
- การวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
- วิธีการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของพัสดุเพื่อประกอบการจัดซื้อจัดจ้าง
- การจัดซื้อ การว่าจ้าง การเช่า การให้เช่า งานจ้างที่ปรึกษา ค่าจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง การทำสัญญาและหลักประกัน การบริหารสัญญาและการตรวจพัสดุ การประเมินผล การปฏิบัติงานของผู้ประกอบการ การทิ้งงาน
- การบริหารพัสดุ การเก็บ การบันทึกการเบิกจ่าย การยืม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การจำหน่ายพัสดุ
- การร้องเรียน
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การสร้างความเข้าใจความร่วมมือ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารภาครัฐ พ.ศ.2560
- กฎกระทรวงออกตามความพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดประเภทรายรับ-รายจ่าย และการปฏิบัติเกี่ยวกับงบประมาณ พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2536 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน การนำส่งเงิน และการตรวจเงิน พ.ศ.2555 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
- การสุขาภิบาลอาหาร และความปลอดภัยของอาหาร รวมถึงการตรวจวิเคราะห์และการแปลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพอาหารเบื้องต้น
- การสุขาภิบาลโรงงาน การอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
- การตรวจสอบควบคุมเหตุรำคาญ การควบคุมปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการน้ำเสีย การจัดการคุณภาพอากาศและเสียง การจัดการมูลฝอย ของเสียอันตรายและสิ่งปฏิกูล มลพิษจากสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมถึงการตรวจ การวิเคราะห์ และการแปลผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อม
- การควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค และการควบคุมปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโรค
- ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมในเขตเมือง ได้แก่ คุณภาพอากาศในอาคาร และสุขาภิบาลในอาคารสาธารณะ เป็นต้น
- การอนามัยสิ่งแวดล้อมในภาวะฉุกเฉินในสถานการณ์ต่างๆ เช่น การเกิดสาธารณภัย สารเคมีรั่วไหล การเกิดโรคระบาด เป็นต้น
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับวิธีการตรวจวัดและมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม)
นักวิชาการโสตทัศนศึกษาปฏิบัติการ
- หลักวิชาโสตทัศนศึกษา ได้แก่ การติดตั้ง การควบคุม การใช้ การซ่อมแซม บำรุงรักษา การเก็บรักษาเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ เช่น กล้องถ่ายภาพ กล้องถ่ายวีดิทัศน์ เครื่องขยายเสียง เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟน ลำโพง เครื่องฉายวีดิโอโปรเจคเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
- การใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องขยายเสยีง เครื่องบันทึกเสียง ไมโครโฟน ลำโพง กล้องถ่ยภาพ กล้อง่ถายวีดิทัศน์ เครื่องฉาย การลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดแสดงหรือบรรยาย เพื่อให้การแสดงหรือบรรยายที่ต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงหรือเครื่องฉายดำเนินไปโดยความเรียบร้อย และเกิดความเหมาะสม
- การเขียน เรียบเรียง คำบรรยายภาพ คำบรรยายแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ โปสเตอร์ บทรายการวิทยุ หรือบทวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่ความรู้ หรือข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในด้านต่างๆ
- การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของตำแหน่ง เช่น การผลิตสื่อการเรียนรู้ การผลิตสื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
วิศวกรโยธาปฏิบัติการ
การออกแบบและคำนวณด้านวิศวกรรมโยธา งานศึกษาวางแผนและการวางโครงการก่อสร้างงานสำรวจเพื่อการก่อสร้าง การทดสอบวิเคราะห์วิจัยวัสดุทางวิศวกรรม การประมาณราคา การควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุงรักษาบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน งานด้านขนส่งและจราจร งานด้านสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมโยธา งานกฎหมายควบคุมอาคาร เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ การให้คำปรึกษา แนะนำหรือตรวจสอบที่เกี่ยวกับงานในสาขาวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐานแก่หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป
นักโภชนาการปฏิบัติการ
ความรู้ความเข้าใจเกียวกับการปฏิบัติงานด้านโภชนาการ ได้แก่ การศึกษา การวิเคราะห์ วิจัยปัญหาโภชนาการ การวางแผนและเฝ้าระวังโรคด้วยวิธีการต่างๆ ในการสำรวจภาวะโภชนาการของประชาชน วิเคราะห์คุณค่าอาหารและสารอาหารโดยคำนวณความต้องการสารอาหารให้ถูกต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่างๆ การดำเนินการป้องกันและบำบัดโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารไม่สมดุล และประเมินภาวะโภชนาการ การวิเคราะห์วิจัยด้านอาหารและสุขภาพของประชาชน การวางแผนด้านโภชนาการเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและกลุ่มผู้นำชุมชน การค้นคว้าทดลองตามหลักวิชาอาหารและโภชนาการ การส่งเสริมโภชนาการแบบต่างๆ การควบคุมดูและการบริการอาหารในโรงพยาบาลและโรงเรียน การควบคุมตรวจสอบและให้คำแนะนำในการกำหนดรายการอาหารโดยใช้หลักโภชนบำบัด การให้คำปรึกษาทางโภชนาการและโภชนบำบัดตามแนวทางการแพทย์แก่ผู้ป่วยและบุคคลในวัยต่างๆ การเผยแพร่ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพ ด้านความปลอดภัยในการบริโภคแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
สถาปนิกปฏิบัติการ
- รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบอาคารทางสถาปัตยกรรมหลัก การตกแต่งภายใน การจัดองค์ประกอบของสวน การจัดพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยภายในอาคาร การปรับปรุงซ๋อมแซม และดัดแปลงอาคารให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- รวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อการออกแบบวางผังเมือง การพัฒนาเมืองและการออกแบบชุมชนเมือง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน และสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- เทคโนโลยีการก่อสร้าง การเลือกใช้วัสดุ การประมาณราคา และจัดทำงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องตามเจตนารมณ์ของหน่วยงาน และความต้องการของผู้ใช้อาคาร โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
- การควบคุมงานก่อสร้างอาคาร การปรับปรุงซ่อมแซมและดัดแปลงอาคาร เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบ และรายการที่กำหนด โดยคำนึงถึงหลักวิศวกรรม และความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร
- การตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบสถาปัตยกรรมหลักเบื้องต้นให้เป็นไปตามกฎหมายควบคุมอาคาร การผังเมือง และด้านสิ่งแวดล้อม
- ความถนัดทางด้านเทคโนโลยีการออกแบบ และการจัดทำแบบร่างเบื้องต้นเพื่อนำเสนอผลงาน
นักวิชาการสถิติปฏิบัติการ
ความรู่้ความสามารถเกี่ยวกับงานด้านวิชาการสถิติ ดังนี้
- การจัดเก็บ/รวบรวมข้อมูสถิติ การจัดทำฐานข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ประมวลผลแปลความหมายข้อมูล จัดทำแผนภูมิหรือแผนภาพทางสถิติและนำเสนอเป็นรายงาน
- การกำหนดและจัดทำแบบสอบถามตามหลักวิชาการตรงตามวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนด การสุ่มตัวอย่างตามหลักวิชาการและการประมวลผล รวมทั้งการวิเคราะห์ค่าสถิติ
- ความรู้ความสามารถในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้อย่างเหมาะสม
- ความรู้เกีย่วกับพระราชบัญญัติสถิติ พ.ศ.2550
- ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
บรรณารักษ์ปฏิบัติการ
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดทุกประเภท องค์ประกอบ โครงสร้าง วัตถุประสงค์ การจัดการระบบความรู้ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ และการเก็ฐรักษาแบบดิจิทัล การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากห้องสมุด และแหล่งข้อมูลสารสนเทศภายนอก มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- การจัดการห้องสมุด การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดการการเงิน บุคลากรและอาคารสถานที่ การประกันคุณภาพ การร่วมมือระหว่างห้องสมุด การจัดกิจกรรม นิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้ แนะนำการให้บริการ แนะนำการเขียนเอกสารอ้างอิงในการวิจัยเบื้องต้น
- การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การคัดเลือก จัดหา และประเมินทรัพยากรสารสนเทศ วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ การจัดการสารสนเทศ การบันทึกลงฐานข้อมูลระบเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการสาระสังเขปและดรรชนี บริการค้นคืนสารสนเทศภายในห้องสมุดและนอกเครือข่าย ตลอดจนจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ กระบวนการสำรวจ คัดลอกและจำหน่ายทรัพยากรสารสนเทศ
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชนใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรทางกายภาพ ด้านทรัพยากรทางชีวภาพ ด้านผลกระทบต่อคุณค่าการใช้ประดยชน์ของมนุษย์ ด้านคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต
- การลดผลกระทบและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน)
- การส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน
- สถานการณ์และการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ด้านอากาศและเสียง ขยะ และน้ำเสีย
- การติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและเสียง
- การวางแผน การจัดทำแผนและโคงการในการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- การบริหารจัดการการลดปริมาณ และการกำจัดขยะมูลฝอย
- กฎหมายและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวขอ้งกับงานด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่
- พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ การจัดการความขัดแย้งด้านสิ่งแวดล้อม การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม การประชาสัมพันะ์และเผยแพร่
นักพัฒนาการท่องเที่ยวปฏิบัติการ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่
- นโยบาย การวางแผนงาน การศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ วิจัย ทางด้านการท่องเที่ยว
- ข้อมูลพื้นฐานด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานของเมือง (กรุงเทพมหานคร) และปริมณฑล
- การอนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรทางการท่องเที่ยว และแหล่งท่องเที่ยว
- การพัฒนาการท่องเที่ยวเมือง และการกำหนดมาตรฐานการท่องเที่ยวให้มีคุณภาพ
- การพัฒนาสินค้า บิรการ และผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว
- การพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
- การพัฒนาและเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการท่องเที่ยว
- การพัฒนาบุคลากรทางด้านการท่องเที่ยว
- การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดทางการท่องเที่ยว
- การพัฒนาและส่งเสริมการจัดกิจกรรมและงานเทศกาลในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
- การส่งเสิรมด้านอุตสาหกรรไมซ์ (MICE) (การประชุม การจัดนิทรรศการ และการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล)
- ความรู้พื้นฐานด้านภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
นักวิชาการวัฒนธรรมปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการวัฒนธรรม ได้แก่
- มิติและโครงสร้างทางวัฒนธรรม
- การเปลี่ยนแปลงของกระแสวัฒนธรรมโลก
- วัฒนธรรมเมืองและการจัดการแหล่งวัฒนธรรม
- ท้องถิ่นศึกษา
- การจัดการพิพิธภัณฑ์ หอศิลปวัฒนธรรม
- ขนบธรรมเนียม ประเพณี
- วิถีชีวิต ภูมิปัญญา
- ประวัติศาสตร์ทั่วไป
- ปรัชญาและศาสนา
- ศิลปศึกษา
- การอนุรักษ์ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม
- หลักและวิธีการจัดทำแผนงานและโครงการ
- วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์
- การพัฒนาเครือข่ายทางวัฒนธรรม
- ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
- ทัศนศิลป์
- วิจิตรศิลป์
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินงานในศูนย์เยาวชน
- สภาเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร สภาเด็กและเยาวขนแห่งประเทศไทย
- แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ.2560-2564
- แผนพัฒนานันทนาการแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ.2560-2564)
- การจัดกิจกรรมต่างๆ ในศูนย์เยาวชน
- พลศึกษา
- คหกรรม
- นาฏศิลป์
- ห้องสมุด
- ศิลปะ
- สังคมศาสตร์
- นันทนาการ
- ดนตรีไทย-สากล
- การดำเนินงานและการให้บริการผู้สูงวัย
นักพัฒนาการกีฬาปฏิบัติการ
สอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านวิชาการศึกษา ศูนย์กีฬา ศูนย์ฝึกกีฬาเยาวชน (โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร) การจัดฝึกอบรมด้านกีฬา วิธีการจัดการเรียนการสอน การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา การตัดสินกีฬา การบาดเจ็บทางกีฬา การปฐมพยาบาล การศึกษาวิเคราะห์วิจัยสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานของศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
การสอบปฏิบัติ
ผู้ที่สอบ่ผานภาคความรู้ความสามารถทั่วไป และเข้าสอบข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งในข้อ 1 ก่อน จึงมีสิทธิเข้าทดสอบปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ดังนี้
- วิ่ง
- ชาย 1,200 เมตร ใช้เวลา 5 นาที (25 คะแนน)
- หญิง 800 เมตร ใช้เวลา 3.30 นาที (25 คะแนน)
- ว่ายน้ำ 50 เมตร
- ชาย ใช้เวลา 30 วินาที (25 คะแนน)
- หญิง ใช้เวลา 35 วินาที (25 คะแนน)
- สาธิตทักษะการสอนกีฬา ใช้เวลา 10 นาที (50 คะแนน)
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมพลศึกษา)
การสอบข้อเขียน
ทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานศูนย์เยาวชนด้านกิจกรรมพลศึกษา เช่น การจัดกิจกรรมพลศึกษา กีฬาและนันทนาการ วิธีการจัดการเรียนการสอน การฝึกซ้อมและการแข่งขันกีฬา การตัดสินกีฬา การบาดเจ็บทางกีฬา การปฐมพยาบาล การจัดค่าพักแรม การจัดและนำเกมส์ เพลง เป็นต้น การศึกษาวิเคราะห์วิจัย สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้บริการ และสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการประชาสัมพันธ์ และระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการดำเนินงานของศูนย์เยาวชนและศูนย์ส่งเสริมกีฬา พ.ศ.2530 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
การสอบปฏิบัติ
ผู้ที่สอบ่ผานภาคความรู้ความสามารถทั่วไป และเข้าสอบข้อเขียนภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่งในข้อ 1 ก่อน จึงมีสิทธิเข้าทดสอบปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา ดังนี้
- วิ่ง
- ชาย 1,200 เมตร ใช้เวลา 5 นาที (25 คะแนน)
- หญิง 800 เมตร ใช้เวลา 3.30 นาที (25 คะแนน)
- ว่ายน้ำ 50 เมตร
- ชาย ใช้เวลา 30 วินาที (25 คะแนน)
- หญิง ใช้เวลา 35 วินาที (25 คะแนน)
- สาธิตการนำกิจกรรมนันทนาการ เกมส์ เพลง ใช้เวลา 10 นาที (25 คะแนน)
- สาธิตทักษะการสอนกีฬา ใช้เวลา 10 นาที (25 คะแนน)
นักวิชาการศูนย์เยาวชนปฏิบัติการ (ผู้นำกิจกรรมศิลปะ)
- ความรู้เกี่ยวกับงานด้านศิลปะสาขาต่างๆ
- บทบาทหน้าที่ของผู้นำกิจกรรมศิลปะ
- กระบวนการสอนศิลปะเบื้องต้น เช่น การสร้างความพร้อมขั้นต้นของผู้เรียน การใช้สื่อและเทคโนโลยี การจัดกระบวนการเรียนรู้ แผนการสอน การเขียนโครงการและการประเมินผล เป็นต้น
- แนวคิด ทฤษฎีด้านศิลปะที่เกี่ยวกับการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน
- ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านศิลปะสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน
- หลักการหรือแนวทางในการจัดกิจกรรมศิลปะสำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน
- การสร้างเทคนิคใหม่ นวัตกรรมด้านศิลปะ
- การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
นักจัดการงานรักษาความสะอาดปฏิบัติการ
- ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ ได้แก่
- การจัดการมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและไขมัน
- การรักษาสภาวะแวดล้อม
- การส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมในเรื่องการลดปริมาณมูลฝอยและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
- การจัดเก็บค่าธรรมเนียมเก็บขนมูลฝอย และค่าบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
- โครงการ/แผนงาน/นโยบาย ด้านการรักษาความสะอาด
- การควบคุม ตรวจสอบ กำกับดูแล การรักษาความสะอาดที่สาธารณะและสิ่งก่อสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ
- การนำระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีมาใช้กับงานด้านการรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ
- กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
- พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560
- พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2550 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2560
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การเก็บ ขน และการกำจัดสิ่งปฏิกูล หรือมูลฝอย พ.ศ.2544
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดการมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของอาคารสถานที่และสถานบริการการสาธารณสุข พงศ.2545
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าธรรมเนียมการเก็บและขนสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
- กฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรามเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.ศ.2545
- กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการมูลฝอยทั่วไป พ.ศ.2560
- กฎกระทรวงสุขลักษณะการจัดการสิ่งปฏิกูล พ.ศ.2561
- ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าบริการ พ.ศ.2543
วิธีการสมัครงานข้าราชการ กทม. :สมัครทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ย. – 19 พ.ย. 2561 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ : 7 ธ.ค. 2561
ดาวน์โหลดไฟล์ “กทม.
แผนที่ | ประกาศ 1 | 2 | เว็บรับสมัคร |