กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 31 ม.ค. -20 ก.พ. 2566 รวม 81 อัตรา,
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดรับสมัครสอบข้าราชการ 31 ม.ค. -20 ก.พ. 2566 รวม 81 อัตรา,
กรมส่งเสริมการเกษตร
ลิงค์: https://ehenx.com/18031/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ,นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 81
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 31 ม.ค. – 20 ก.พ. 2566
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ
ด้วยกรมส่งเสริมการเกษตรจะดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับ ราชการในตำแหน่งนักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ นักทรัพยากรบุคคล ปฏิบัติการ นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ นักวิชาการเงินและบัญชี ปฏิบัติการ นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน และตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕๓ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๐๔/ว ๑๗ ลงวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ เรื่อง การสรรหาโดยการสอบแช่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ จึงประกาศรับสมัคร สอบแข่งขันฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 3 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 15000-16500 บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 12 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 5 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
อัตราว่าง : 55 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 10840-12650 บาท
คุณวุฒิ : ปวส.ทุกสาขา*
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
๑. ได้รับวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สาขาวิชา วิทยาศาสตร์กายภาพ สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ หรือสาขาวิชาวิทยาการ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
๒ . เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
๑ . ได้รับวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์
๒ . เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
๑ . ได้รับวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ ทางการเกษตร ทางเกษตรกรรม ทางเกษตรศาสตร์ ทางศึกษาศาสตร์ – เกษตร หรือสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางจิตวิทยา
๒ . เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
๑. ได้รับวุฒิปริญญาตรี ทุกสาขาวิชา
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
๑ . ได้รับวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา ทางวิศวกรรมสำรวจ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ ทางภูมิศาสตร์ หรือทางภูมิศาสตร์กายภาพ
๒ . เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
๑ . ได้รับวุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
๒ . เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ของสำนักงาน ก.พ. ระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
๑. ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือวุฒิประกาศนืยบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรือวุฒิ อนุปริญญา สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ ทางอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชา (ไม่ระบุสาขา) ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทางเทคโนโลยีไฟฟ้ากำลัง ทางไฟฟ้ากำลัง
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิขาชีพชั้นสูง ของสำนักงาน ก.พ. หรือสูงกว่า
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
๑. ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) สาขาวิชาเทคนิคเขียนแบบ วิศวกรรมเครื่องกล หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชิ้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล หรือสาขาวิชาช่างกลการเกษตร หรือวุฒิอนุปริญญา สาขาวิชา(ไม่ระบุสาขาวิชา) ทางเครื่องกล ทางเทคโนโลยีเครื่องกล ทางเทคโนโลยีเครื่องยนต์ ทางเทคโนโลยี ยานยนต์ ทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ทางโลหะ
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสำนักงาน ก.พ. หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
๑ ได้รับวุฒิประกาศนืยบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือวุฒิอนุปริญญา ทุกสาขาวิชา
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศบียบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสำนักงาน ก.พ. หรือสูงกว่า
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
๑. ได้รับวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือวุฒิอนุปริญญา ทุกสาขาวิชา
๒. เป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป ระดับประกาศนิยบัตรวิชาชีพเทคนิค อนุปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ของสำนักงาน ก.พ. หรือสูงกว่า
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานด้านวิชาการเกษตร ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และวิเคราะห์วิจัยทางการเกษตร เช่น การเพาะปลูก การปรับปรุงพันธุ การขยายพันธุ การคัดพันธุต้านทานโรคและศัตรูพืช การวิเคราะห์ดิน และการจัดและรักษามาตรฐานพันธุพืช การศึกษา วิเคราะห์วิจัยเพื่อควบคุมพันธุพืช วัตถุมีพิษ และปุยเคมี การให้คำปรึกษา แนะนำและสาธิตงานวิชาการเกษตร เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา พัฒนา ระบบการควบคุม การผลิต การจำหน่าย การนำเข้า การส่งออกพืช พันธุพืช ปุย วัตถุมีพิษ ยาง รวมทั้งศึกษา พัฒนาระบบการคุ้มครองพันธุพืช และการค้าพืชตามอนุสัญญาเพื่อให้ เป็นไปตามกฎหมาย
(๒) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาด้านพืชเกี่ยวกับการอนุรักษ์ด้าน พถุกษศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ การปรับปรุงพันธุ การขยายพันธุ วิทยาการด้านพันธุ การเขตกรรม การอารักขา งานวิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง งานด้านการผลิตสารบำรุงพืช และอื่น ๆ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่เหมาะสมทางการเกษตร และช่วยพัฒนาผลผลิต ให้ได้มาตรฐาน และปลอดภัย ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค รวมทั้งผลกระทบของภูมิอากาศต่อการเกษตร
(๓) ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับดิน นํ้า และการชลประทาน ปุย วัตถุมีพิษการเกษตร เพื่อเพิ่มผลผลิตพืชและปรับปรุงดินให้มีคุณภาพ
(๔) ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์การผลิต การตลาดของพืช สินค้าเกษตรและสินค้า เกษตรแปรรูป เช่น ปริมาณการผลิต การตลาด ราคาผลผลิต ภัยธรรมชาติ ศัตรูพืช และประเทศคู่แข่ง เป็นต้น เพื่อวางแผนและแนะนำการผลิต และการส่งเสริมให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ สามารถผลิตให้ได้มาตรฐาน คุณภาพสินค้าเกษตร
(๕) ส่งเสริมและสนับสบุนในการให้บริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตร และปัจจัยการผลิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านพืชและไหม ตลอดจนการผึเกอบรมและสาธิต เพื่อให้ เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประโยชน์
(๖) ให้บริการด้านวิชาการทางการเกษตร เกี่ยวกับการวินิจฉัย ตรวจสอบ วิเคราะห์ ปัจจัย การผลิต โรคแมลงศัตรูพืช วัชพืช การตรวจสอบรับรองผลิตผล ผลิตภัณฑ์พืชและการเตือนภัยการระบาด ของโรคแมลงศัตรูพืช เพื่อการป้องกันกำจัดที่เหมาะสม
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธึ๋ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) รวบรวม จัดทำข้อมูล การจัดทำรายงานเกี่ยวกับสารสนเทศทางการเกษตร เพื่อใช้ ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และให้บริการข้อมูลแก่ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้เกี่ยวข้อง
(๒) ให้คำปรึกษา แนะนำ จัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการเกษตรแก,หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติให้เกิด ประโยชน์
(๓) ให้คำปรึกษา แนะนำ ในงานด้านวิชาการแก่เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เพื่อให้สามารถ ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ กำหนดคุณลักษณะของเครื่อง จัดระบบติดตั้ง เชื่อมโยงระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ ศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ เกี่ยวกับชุดคำสั่งระบบ ชุดคำสั่งประยุกต์ การจัดทำคู่มือการใช้คำสั่งต่าง ๆ กำหนดคุณลักษณะ ติดตั้งและใช้ เครื่องมือชุดคำสั่งสื่อสาร การจัดและบริหารระบบสารสนเทศ รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับการกระทำผิด ทางคอมพิวเตอร์ และธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การให้คำปรึกษาแนะนำ อบรมเกี่ยวกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้านต่าง ๆ แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปฏิบัติหน้าที่ อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวช้อง เพื่อสนับสบุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตาม ความต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เขียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แก้ไขข้อผิดพลาดของคำสั่งเพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์ และระบบ ข้อมูลของหน่วยงานที่ไม่ซับช้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) ช่วยรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้ได้ ระบบงานประยุกต์ที่ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศ การจัดการระบบการทำงานเครื่อง การติดตั้งระบบเครื่องเพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ ของหน่วยงาน
(๙) ช่วยตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่าย ไม,เหมาะสม ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมารฐานสากลเพื่อความมั่นคง ปลอดภัยของข้อมูลหรือระบบ
(๑๐) ช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลเพื่อประกอบการออกใบอนุญาต เพื่อให้การออก ใบอนุญาตเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ๙ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
( ๑) ช่วยจัดทำคู่มือระบบและคู่มือผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วย ตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
( ๒) ดำเนินการผึเกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้ สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนา แก่เจ้าหน้าที่ผู้ใช้งาน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
( ๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแกผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก่ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ เกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และดำเนินการเกี่ยวกับการวางระบบมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร ทรัพยากรบุคคล การวางแผนทรัพยากรบุคคล การกำหนดตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำ ตำแหน่ง การสรรหา การบรรจุและการแต่งตั้ง การฟิกอบรมและพัฒนาข้าราชการและบุคลากรอื่น การเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ การออกจากราชการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบ การจัดทำมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการ ดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและ ความจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การจัดหลักสูตรและการถ่ายทอด ความรู้ การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ รวมถึง การวางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและแผน การจัดสรรทุนการศึกษาและการฟิกอบรม
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่งและวางแผน อัตรากำลังของส่วนราชการ
(๕) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์การบริหารผล การปฏิบัติงาน และการบริหารค่าตอบแทน
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาและเลือกสรร เพื่อบรรจุและแต่งตั้งผู้มีความรู้ ความสามารถให้ดำรงตำแหน่ง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชนข้าราชการ พนักงานราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสบุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูล เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสนับสนุน ภารกิจของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ และมาตรการต่าง ๆ
(๓) ดำเนินการจัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มพูน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ รายละเอียดของพัสดุ เพื่อกำหนดมาตรฐาน และคุณภาพการร่างสัญญาซื้อและสัญญาจ้าง การเสนอความเห็นเกี่ยวกับพัสดุ การวางระบบเกี่ยวกับระเบียบ วิธีปฏิบัติงานด้านพัสดุ การบริหารสินทรัพย์ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวมและศึกษาข้อมูลในงานพัสดุ เพื่อกำหนดคุณภาพ และมาตรฐานของพัสดุ
(๒) ตรวจสอบและดูแลการจัดซื้อจัดจ้างแบบต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการ จัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
(๓) จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของวัสดุ เพื่อให้สามารถ ตรวจสอบวัสดุต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
(๔) ซ่อมแซมและดูแลรักษาพัสดุในครอบครอง เพื่อให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน
(๕) จำหน่ายพัสดุเมื่อชำรุดหรือเสื่อมสภาพ หรือไม่จำเป็นในการใช้งานทางราชการ อีกต่อไป เพื่อให้พัสดุเกิดประโยชน์ให้แก่ทางราชการได้มากที่สุด
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านงานพัสดุแก,เจ้าหน้าที่ระดับรองลงมา เช่น ให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติงาน วางโครงการกำหนดหลักสูตรและนิกอบรม จัดทำคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น เพื่อถ่ายทอด ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน และข้อกำหนด
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานพัสดุที่ตนมีความรับผิดชอบ ในระดับ เบื้องต้นแก,หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานพัสดุ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณา กำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม และข้อมูลเชิงพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการบริหารงานต่าง ๆ โดยวิธีการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ เช่น การจัดทำผังแปลงเกษตรกรดิจิทัล และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ภาพดาวเทียม และข้อมูลเชิง พื้นที่อื่น ๆ เพื่อจัดหาหรือเพื่อเตรียมการคัดเลือกบริเวณที่จะทำแผนที่และหรือระบบภูมิสารสนเทศ
(๒) อ่าน แปลและดีความภาพถ่ายทางอากาศ และวิเคราะห์ภาพดาวเทียม เพื่อดูร่องรอย การใช้ประโยชน์ที่ดิน
(๓) นำเข้า ตรวจสอบ แกไข รักษาและค้นคืนข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลภูมิ
สารสนเทศ
(๔) ประมวลผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน
(๕) ดูแล จัดเก็บ บริการ แผนที่ ภาพถ่าย และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อให้บริการแก, หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไปนำไปใช้ประโยชน์
(๖) สรุปรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเสนอผู้บังคับบัญชา เพื่อวางแผนการปฏิบัติงาน ให้มีประสิทธิภาพ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ตรวจสอบและเตรียมระวางแผนที่และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ เพื่อทำการจัดส่ง ให้หน่วยงานภายใน หน่วยงานภายนอก และให้บริการประชาชน
(๒) ชี้แจงและตอบปัญหา เกี่ยวกับข้อมูลด้านแผนที่และหรือภูมิสารสนเทศ เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป
(๓) ให้บริการแผนที่ และหรือข้อมูลภูมิสารสนเทศ แกหน่วยงานราชการ เอกชน และ ประชาชนทั่วไป
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ปฏิบัติงานทางวิชาการเงินและบัญชีซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ การบัญชีทั่วไปของส่วนราชการ การศึกษา วิเคราะห์ ติดตาม ประเมินผล การใช้จ่ายเงิน การวิเคราะห์ฐานะทางการเงินและบัญชี การวิเคราะห์งบประมาณ การพัฒนาระบบงานคลัง ตรวจสอบ ความถูกต้องของการลงบัญชีประเภทต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำบัญชี เอกสารรายงานความเคลื่อนไหวทางการเงิน ทั้งเงินในและเงินนอก งบประมาณ เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแสดงสถานะทางการเงินและใช้เป็นฐานข้อมูลที่ถูกต้องตามระเบียบวิธี การบัญชีของส่วนราชการ
(๒) รวบรวมข้อมูล และรายงานการเงินของส่วนราชการ เพื่อพร้อมที่จะปรับปรุงข้อมูล ให้ถูกต้องและทันสมัย
(๓) จัดทำและจัดสรรงบประมาณแก,หน่วยงานของรัฐเพื่อให้การจัดสรรงบประมาณ ตรงกับความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน
(๔) ศึกษาวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดทำและจัดสรรงบประมาณ
(๕) ดูแลการรับและจ่ายเงิน สถานะทางการเงิน ตรวจสอบเอกสารสำคัญการรับ -จ่ายเงิน เพื่อให้การรับ – จ่ายเงินขององค์กรมีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ ของราชการ
(๖) ถ่ายทอดความรู้ด้านการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ในระดับรองลงมา เข่น จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน วางโครงกำหนดหลักสูตรและผีเกอบรม และวิธีใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ถูกต้อง
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมถุทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิด ความร่วมมือและผลส้มฤทธี้ที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีที่ตน มีความรับผิดชอบในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(๒) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ ที่เกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบ การพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ตรวจทดสอบ สร้าง ซ่อม ประกอบ ดัดแปลง ติดตั้ง และบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ เกี่ยวกับไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระบบโทรคมนาคม โทรคมนาคมพื้นฐาน (โทรศัพท์) ระบบโสตทัศนูปกรณ์ และ ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการ ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุม การใช้งาน ดูแล บำรุงรักษา และใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบ ไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ คอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องและมี ประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(๒) จัดทำทะเบียน รวบรวม และเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งาน เพื่อการวางแผน บำรุงรักษา
(๓) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตาม ที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหาให้แกผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายใน และภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างลูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(๒) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
สำรวจ ตรวจสอบ ซ่อม สร้าง ติดตั้ง ประเมินราคาเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการเกษตร ระบบโรงเรือนเพาะปลูกพืช ควบคุมการทำงานและแก้ไขข้อขัดซ้องเครื่องจักรในระหว่างปฏิบัติงาน จัดเก็บ และบำรุงรักษาเครื่องมือ เครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน เป็นผู้ช่วยวิทยากรในการฟิกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกร ติดตามโครงการ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะ งานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
(๒) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคา เครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
(๓) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน ๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
(๒) ให้คำแนะนำและบริการแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความ เข้าใจในการทำงาน
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานทางการเงินและบัญชี ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณ และการบัญชีของส่วนราชการ เช่น การตรวจสอบหลักฐานใบสำคัญคู่จ่ายเงิน ตรวจสอบ และจัดทำรายงาน การขอเบิกเงินคงคลัง เงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ ควบคุม ตรวจสอบ และดำเนินการแก่ไข ปรับปรุงการบันทึกบัญชี รวบรวมรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับการขอจัดตั้งงบประมาณ รายรับ – จ่ายประจำปี ทำหนังสือชี้แจงโต้ตอบ และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) จัดทำและปฏิบัติงานด้านเอกสารทางการเงินและบัญชีในระดับต้น เพื่อให้งานเป็นไป ตามเป้าหมายที่กำหนด
(๒) รวบรวมรายละเอียดการจัดทำงบประมาณ เพื่อใช้ประกอบในการทำงบประมาณ ประจำปีของหน่วยงาน
(๓) ตรวจสอบและดูความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน เพื่อให้เกิดความถูกต้อง ในการปฏิบัติงาน
(๔) ประสานงานในระดับฝ่ายหรือกลุ่มกับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอความช่วยเหลือและร่วมมือในงานและแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ของหน่วยงาน
๒. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา ชี้แจงเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชี แกเจ้าหน้าที่ระดับ รองลงมา หน่วยงานราชการ เอกชน และประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความชำนาญแก่ผู้ที่สนใจ
(๒) ประสานงานในระดับกลุ่ม กับหน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อขอ ความช่วยเหลือและความร่วมมือในงานการเงินและบัญชี และแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็น ประโยชน์ต่อการทำงานของหน่วยงาน
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบัญชี งานการเงินและงานพัสดุ ซึ่งมีลักษณะงาน ที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการร่าง โต้ตอบ บันทึก ย่อเรื่อง ตรวจทานหนังสือ การดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารสิทธี้ ในทรัพย์สินของทางราชการ การดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ การตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลง รายการ และเก็บรักษาเอกสารสำคัญของทางราชการ การรวบรวมข้อมูลหรือจัดเตรียมเอกสาร การเตรียมการประชุม และจดบันทึกรายงานการประชุม และปฏิบัติงานเกี่ยวกับการเงิน การงบประมาณและการบัญชีทั่วไปของส่วน ราชการ เช่น การตรวจสอบ หลักฐานใบสำคัญคู่จ่ายเงิน ลงบัญชี ทำรายงาน การบัญชี รวบรวมรายละเอียด ข้อมูลเกี่ยวกับการขอจัดตั้งงบประมาณ รายรับ – รายจ่ายประจำปี ทำหนังสือชี้แจง โต้ตอบ ด้านงบประมาณ เป็นต้น และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ งานบริการทั่วไป เช่น การรับส่ง ลงทะเบียน ร่างหนังสือโต้ตอบ จัดเตรียมการประชุม การบันทึกข้อมูล เพื่อสนับสนุนให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้โดยสะดวก ราบรื่นและมีหลักฐานตรวจสอบได้
(๒) รวบรวมข้อมูล จัดเก็บข้อมูลสถิติ เอกสาร หลักฐานหนังสือ ตามระเบียบวิธีปฏิบัติ เพื่อสะดวกต่อการด้นหา และเป็นหลักฐานทางราชการ
(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับพัสดุ ครุภัณฑ์ของสำนักงาน เพื่อให้มีอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไว้ใช้งาน และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
(๔) ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารสำคัญทางการเงิน
(๕) รวบรวมรายงานผลการปฏิบัติงานและข้อมูลต่าง ๆ นำเสนอต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อนำไปใช้เสนอแนะและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป
๒. ด้านการบริการ
(๑) ติดต่อประสานงานกับบุคคลภายในหน่วยงานเดียวกันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
(๒) ให้บริการข้อมูลแก่ผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ต่อไป
นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– การจัดการดินและปุย
– การจัดการศัตรูพืช
– พฤกษศาสตร์พืช
– ระเบียบวิธีวิจัยทางการเกษตร
– คุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตร
– วิทยาการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
– การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและพัฒนาผลิตภัณฑ์
– การจัดการพืช
– การจัดการด้านการตลาดและโลจิสติกส์ทางการเกษตร
นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ
– ออกแบบฐานข้อมูลและการบริหารจัดการฐานข้อมูล (DBMS)
– ทักษะการพัฒนาระบบสารสนเทศ แอปพลิเคชัน และเว็บไซต์
– ความรู้เกี่ยวกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
– ความรู้เกี่ยวกับภัยคอมพิวเตอร์
– การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
– พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๔๔๔ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๔๖๒ (PDPA)
– พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๔๖๔
– ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
– การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
– ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (๒๕๖๐ – ๒๕๖๔)
– พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
– พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔
– ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy)
นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– ระเบียบการเบิกจ่ายเงินจากคลัง การเก็บรักษาเงิน และนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑
– ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ปฏิบัติงานพัสดุ
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๖ และที่แก็ไขเพิ่มเติม
นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– เครื่องมือสำรวจทางภูมิศาสตร์
– ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
– การวิเคราะห์ แปลผล และตีความภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่ายดาวเทียมด้านการเกษตร
– การใช้งานโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ และระบบภูมิสารสนเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
– การออกแบบ จัดการ และสืบค้นฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database)
– ความรู้และทักษะการจัดทำแผนที่ Digital
– การเขียนโปรแกรมเพื่อการพัฒนาระบบ GIS
– การบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย GIS
– การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Analyst) โดย SQL Command
– การเผยแพร่ข้อมูลภูมิสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ต (Web Service, WMS, WFS เป็นต้น)
– ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
– พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราขการ พ.ศ. ๒๕๔๐
– พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ และที่แกไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ (PDPA)
– พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๖๕
นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการเกษตร
– หลักการบัญชี
– การวิเคราะห์งบการเงิน
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๑ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๔๖๒ และฉบับที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๒
– พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๔๒๖ และที่แก่ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๔๔๐ และฉบับที่แก่ไขเพิ่มเดิม
นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้ วิชาที่ ๑ ความรู้ด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน) – ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน
– วงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และการวัด
– ดิจิตอลไมโครโปรเซสเซอร์
– โสตทัศนูปกรณ์
วิชาที่ ๒ ความรู้ด้านโทรคมนาคม (คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน)
– โทรคมนาคมพื้นฐาน
– ระบบโทรศัพท์
– พระราชบัญญัติวิทยุโทรคมนาคม พ.ศ. ๖๔๙๘
นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเครื่องจักรกลการเกษตร
– การใช้และบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น แทรกเตอร์การเกษตร เครื่องยนต์ต้นกำลัง ทางการเกษตร เครื่องเกี่ยวนวดข้าว เครื่องจักรพ่วงท้ายแทรกเตอร์ เครื่องจักรกลการแปรรูปผลผลิตเกษตร เครื่องจักรกลหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ระบบปัมสูบนํ้าและให้นำพืช เป็นต้น
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– หลักการบัญชีเบื้องต้น
– พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และฉบับที่แก็ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และฉบับที่แก็ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และฉบับที่แก็ไขเพิ่มเดิม
เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ทดสอบความรู้ความสามารถ โดยวิธีการสอบข้อเขียน ดังต่อไปนี้
– ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– หลักการบัญชีเบื้องต้น
– พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ และที่แก็ไขเพิ่มเดิม
– ระเบียบการเบิกจ่ายเงินการคลังการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๕๑
– พระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๒๖ และที,แก็ไขเพิ่มเติม
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายในการเดินทางไปราชการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
– พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
– ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒
– ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน
และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. ๒๕๖๒ และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเดิม
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. – 20 ก.พ. 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร
ตำแหน่ง: นักวิชาการเกษตรปฏิบัติการ,นักวิชากาคอมพิวเตอร์ปฏิบัติการ,นักทรัพยากรบุคคลปฏิบัติการ,นักวิชาการพัสดุปฏิบัติการ,นักวิชาการแผนที่ภาพถ่ายปฏิบัติการ,นักวิชาการเงินและบัญชีปฏิบัติการ,นายช่างไฟฟ้าปฏิบัติงาน,นายช่างเครื่องกลปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานการเงินและบัญชีปฏิบัติงาน,เจ้าพนักงานธุรการปฏิบัติงาน
ระดับการศึกษา: ปวส.ทุกสาขา,ปวส.,ปริญญาตรี,ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 10,840-16,500
อัตราว่าง: 81
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 31 ม.ค. – 20 ก.พ. 2566 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร