[recent_post_slider design="design-4" category="6481,5610" limit="30" dots="false" show_read_more="true" show_date="false" show_date="false" show_author="false" show_content="false" ]งานใหม่ล่าสุด!!

กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ก.ย. -21 ก.ย. 2565 รวม 9 อัตรา,

แชร์ให้เพื่อน

กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 1 ก.ย. -21 ก.ย. 2565 รวม 9 อัตรา,

กระทรวงพลังงาน

ลิงค์: https://ehenx.com/17479/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักทรัพยากรบุคคล,นิติกร,นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 18,000-21,000
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 1 ก.ย. – 21 ก.ย. 2565
**เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**



กระทรวงพลังงาน เปิดรับสมัคร

ประกาศสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน

เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป

ด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานจะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างพนักงานราชการทั่วไป
ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนด ลักษณะงาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

ชื่อตำแหน่ง กลุ่มงาน และรายละเอียดการจ้างงาน

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

อัตราว่าง : 6 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000-21000 บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*,ปริญญาโท


นักทรัพยากรบุคคล

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรีทุกสาขา*


นิติกร

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 18000- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

อัตราว่าง : 1 อัตรา

อัตราเงินเดือน : 19500- บาท

คุณวุฒิ : ปริญญาตรี

คุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

  • ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในทุกสาขาวิชา
  • ได้รับปริญญาโท หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชา นิเทศศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาอักษรศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ

นักทรัพยากรบุคคล

ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกัน ในทุกสาขาวิชา


นิติกร

ได้รับวุฒิปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบไดในระดับเดียวกันในเดียวกัน ในสาขาวิชานิติศาสตร์


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ได้รับวุฒิปริญญาตรี ในสาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่ง ทางคอมพิวเตอร์

ลักษณะงานที่ปฏิบัติ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ปฏิบัติงานในฐานะผู้สนับสบุนการปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน
ปฏิบัติงานด้านวิเคราะห์นโยบายและแผน ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับ มอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) รวบรวม วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลและสถานการณ์เศรษฐกิจ การเมือง และ สังคมทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ หรือ นโยบายแผนงาน และโครงการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการบริหาร หรือความมั่นคง
(๒) รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้นกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของส่วนราชการ หรือทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการให้สามารถ บรรลุภารกิจที่กำหนดไว้
(๓) วิเคราะห์ และประมวลนโยบายของรัฐบาลนโยบายของกระทรวงพลังงานหรือนโยบาย แผนงานด้านพลังงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ จังหวัดหรือกลุ่มจังหวัด เพื่อนำมาจัดทำแผนการปฏิบัติการ แผนงาน โครงการ กิจกรรมด้านพลังงานที่เหมาะสมกับการปฏิบัติของหน่วยงาน
(๔) ปฏิบัติงานด้านการวิเคราะห์พลังงาน สมดุลพลังงาน การวางแผนด้านพลังงาน การเขียน โครงการด้านพลังงาน พลังงานทดแทน การอนุรักษ์พลังงาน ปิโตรเลียม และปฏิบัติงานตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับนํ้ามันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว
(๔) ปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๔๖๐
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธี้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) รวบรวมข้อมูล เพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับกับการจัดทำแผนงาน โครงการ
(๒) ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบปัญหาและชี้แจงเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับงานนโยบายและแผนการอนุรักษ์ พลังงาน พลังงานทดแทน การวางแผนพลังงาน ด้านนํ้ามันเชื้อเพลิงและก๊าซปิโตรเลียมเหลว เพื่อสร้างความเข้าใจ และแกไขปัญหาการปฏิบัติงาน


นักทรัพยากรบุคคล

ปฏิบัติงานในฐานะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านการบริหารหรือทรัพยากรบุคคล ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ เพื่อประกอบการวางระบบการจัดทำ มาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ หรือของส่วนราชการ
(๒) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบ และวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประกอบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
(๓) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อประกอบการกำหนดความต้องการและความจำเป็น ในการวางแผนทางก้าวหน้าในอาชีพ การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การวางแผนและเสนอแนะนโยบายหรือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และแผนการจัดสรรทุนการศึกษาและการฟิกอบรม รวมถึงการจัดหลักสูตร และการถ่ายทอดความรู้การจัดสรรทุนการศึกษา และการดูแลนักเรียนทุนและบุคลากรภาครัฐในต่างประเทศ
(๔) ศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์งาน เพื่อประกอบการกำหนดตำแหน่ง และการวางแผน อัตรากำลังของส่วนราชการ
(๕) การดำเนินงานเกี่ยวกับการสรรหาและเลือกสรรเพื่อการบรรจุและแต่งตั้ง การบริหารผล การปฏิบัติงาน การบริหารค่าตอบแทน ทะเบียนประวัติ และบำเหน็จความชอบ
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทซ็ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธึ๋ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แกบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ให้คำแนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาเบื้องต้นแกหน่วยงานราชการ เอกชน ข้าราชการ พนักงานหรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือประชาชนทั่วไป เกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนงานตามภารกิจของหน่วยงาน
(๒) ให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อสนับสนุน ภารกิจ ของบุคคลหรือหน่วยงานและใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์และ มาตรการต่าง ๆ
(๓) จัดสวัสดิการและการส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน


นิติกร

ปฏิบัติงานในฐานะผู้สนับสนุนการปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการ ในการทำงาน ปฏิบัติงานด้านนิติกร ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานที่ปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) เสนอความเห็นแก่ผู้บังคับบัญชาในการตอบข้อหารือหรือวินิจฉัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับ ระเบียบของทางราชการที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการ พิจารณา ของผู้บังคับบัญชา
(๒) ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยเพื่อปรับปรุงกฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์และอำนวยความสะดวกในการทำงาน โดยพิจารณาถึงความ เหมาะสมและเป็นธรรม ต่อทุกฝ่าย
(๓) ศึกษาข้อมูล รวบรวม แสวงหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย เสนอความเห็นในการดำเนินการ เรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวกับวินัยข้าราชการ การร้องทุกข์การพิทักษ์ระบบคุณธรรม รวมถึงการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย ปกครองที่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการและการดำเนินคดีของหน่วยงาน เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงาน และสามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง
(๔) ศึกษา รวบรวม ตรวจสอบช้อมูล ถ้อยคำ ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการดำเนินการทางวินัย การรักษาวินัยและจรรยา
(๕) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบพิทักษ์คุณธรรม
๒. ด้านการวางแผน
วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือ โครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ้ที่กำหนด
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธิ้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
ให้คำปรึกษาแนะนำด้านกฎหมายแก,บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจ ในข้อกฎหมายที่เป็นปัญหาและให้ความรู้ถึงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์กับการดำเนินงาน ของ บุคคลหรือหน่วยงานดังกล่าว


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ปฏิบัติงานในฐานะผู้สนับสนุน ที่ต้องใช้ความรู้ ความสามารถทางวิชาการในการทำงาน ปฏิบัติงาน ด้านวิชาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
โดยมีลักษณะงานทีปฏิบัติ ดังนี้
๑. ด้านการปฏิบัติการ
(๑) ติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ชุดคำสั่งระบบปฏิบัติการ ชุดคำสั่งสำเร็จรูป ระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวช้อง เพื่อสนับสนุนให้งานเทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงาน
(๒) ประมวลผลและปรับปรุงแกไขแฟ้มข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ได้ถูกต้องแม่นยำและทันสมัย
(๓) ทดสอบคุณสมบัติด้านเทคนิคของระบบ เพื่อให้ระบบมีคุณสมบัติที่ถูกต้อง ตรงตามความ ต้องการและสภาพการใช้งานของหน่วยงาน
(๔) เซียนชุดคำสั่งตามข้อกำหนดของระบบงานประยุกต์ และระบบข้อมูลที่ได้วางแผนไว้ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานเทคโนโลยีสารสนเทศให้ดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(๕) เขียนชุดคำสั่ง ทดสอบความถูกต้องของคำสั่ง แกไขข้อผิดพลาดของคำสั่ง เพื่อให้ ระบบปฏิบัติการทำงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำและมีประสิทธิภาพ
(๖) รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ความต้องการของระบบงานประยุกต์และระบบข้อมูล ของหน่วยงานที่ไม1ซับซ้อน เพื่อพัฒนาระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
(๗) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ออกแบบ และพัฒนาระบบงานประยุกต์ เพื่อให้โด้ระบบงาน ประยุกต์ที,ตรงตามคุณลักษณะและความต้องการของหน่วยงาน
(๘) รวบรวมข้อมูลประกอบการกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ ระบบเครือข่าย ระบบงานประยุกต์และระบบสารสนเทศการจัดการระบบการทำงานเครื่องการติดตั้งระบบเครื่อง เพื่อให้ได้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และตรงตามความต้องการใช้ของหน่วยงาน
(๙) ตรวจสอบ สืบค้น และรวบรวมข้อมูลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เข้าข่ายไม,เหมาะสม ขัดต่อกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับที่กำหนด หรือไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อความมั่นคงปลอดภัย ของข้อมูลระบบ
๒. ด้านการวางแผน
(๑) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงาน หรือโครงการด้านสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายผลสัมฤทธึ๋ที่กำหนด
(๒) ร่วมกำหนดแนวนโยบายหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศสำหรับประกาศใช้ในหน่วยงาน
(๓) ช่วยจัดทำแผนบริหารงาน แผนบริหารความเสี่ยง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติของการ ใช้งานคอมพิวเตอร์และระบบสารสนเทศขององค์กร ให้สอดคล้องกับกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร
๓. ด้านการประสานงาน
(๑) ประสานงานทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือ และผลสัมฤทธื้ตามที่กำหนด
(๒) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก,บุคคลหรือหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๔. ด้านการบริการ
(๑) ช่วยจัดทำคู,มือระบบและคู,มือผู้ใซัเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ด้วยตนเอง อย่างมีประสิทธิภาพ
(๒) ดำเนินการฟิกอบรมหรือถ่ายทอดความรู้สนับสนุนการใช้ระบบงานที่พัฒนาแก,เจ้าหน้าที่ ผู้ใช้งานเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในด้านวิชาการคอมพิวเตอร์
(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำแก,ผู้ใช้เมื่อมีปัญหาหรือข้อสงสัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิชาที่สอบ

นักวิเคราะห์นโยบายและแผน

ระดับปริญญาโท

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไป (๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงานและกระทรวงพลังงาน
๑.๒ ระเบียบปฏิบัติสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (๑๕๐ คะแนน)
๒.๑ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒.๒ พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒
๒.๓ การวิเคราะห์จัดทำแผนปฏิบัติราชการและแผนด้านพลังงาน
๒.๔ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
(เทtergrity and Transprency Assessment: ITA )
๒.๕ ภาษาอังกฤษ

ระดับปริญญาตรี

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไป (๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (๑๕๐ คะแนน)
๒.๑ ด้านนํ้ามันเชื้อเพลิงและก๊าช
–    พระราชบัญญัติควบคุมนํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก๊ไขเพิ่มเดิม
–    พระราชบัญญัติการด้านํ้ามันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๓ และที่แก๊ไขเพิ่มเติม
๒.๒ ด้านพลังงาน พลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
–    ความรู้ทั่วไปด้านพลังงาน พลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
–    ความรู้ด้านปิโตรเลียม และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒.๓ ด้านการวางแผนพลังงาน
–    การวิเคราะห์ด้านพลังงานและสมดุลพลังงาน
–    การวางแผนด้านพลังงาน
–    การเขียนโครงการด้านพลังงาน
๒.๔ ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐


นักทรัพยากรบุคคล

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไป (๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (๑๕๐ คะแนน)
๒.๑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แกํไขเพิ่มเติม
๒.๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒.๓ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
๒.๔ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร
๒.๕ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผน การบริหารโครงการ และการติดตามประเมินผล


นิติกร

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไป (๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
๑.๒ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (๑๕๐ คะแนน)
๒.๑ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๕๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติม
๒.๒ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ และที่แก้ไขเพิ่มเดิม
๒.๓ พระราชบัญญัติวิธีการปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และที่แก้ไชเพิ่มเดิม
๒.๔ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙
๒.๕ การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการพลเรือนสามัญ


นักวิชาการคอมพิวเตอร์

ส่วนที่ ๑ ความรู้ทั่วไป (๕๐ คะแนน)
๑.๑ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระทรวงพลังงาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน และกระทรวงพลังงาน
๑.๒ ระเบียบปฏิบัติสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗
ส่วนที่ ๒ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน (๑๕๐ คะแนน)
๒.๑ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร กฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และที่เกี่ยวข้อง
๒.๒ ความรู้เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล การจัดการข้อมูล และการเชื่อมโยงข้อมูล
๒.๓ ความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และโปรแกรมประยุกต์
๒.๔ ความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และการจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่
๒.๕ ความรู้เกี่ยวกับการจัดการโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
๒.๖ ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ


วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กระทรวงพลังงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 21 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกระทรวงพลังงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,นักทรัพยากรบุคคล,นิติกร,นักวิชาการคอมพิวเตอร์
ระดับการศึกษา: ปริญญาตรีทุกสาขา,ปริญญาตรี,ปริญญาโท
อัตราเงินเดือน: 18,000-21,000
อัตราว่าง: 9
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **เฉพาะผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ.**

วิธีการสมัครงานพนักงานราชการ กระทรวงพลังงาน  :สมัครทางอินเทอร์เน็ต  

ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. – 21 ก.ย. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ

ดาวน์โหลดประกาศ/ใบสมัครกระทรวงพลังงาน

ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร

Facebook Comments

You may also like...

ACTGROUP แอ๊คกรุ๊ป ติวสอบท้องถิ่น สอบ กพ. 2562 - 2563 แนวข้อสอบ กพ ธ.ก.ส. รับสมัครสอบ ข่าวสอบราชการ สอบ ก.พ. 2563 รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ งานเอกชน หางานราชการ สมัครงานราชการ และข่าวสารการรับสมัครงานมากมายที่นี่ี 2562-2563