[recent_post_slider design="design-4" category="6481,5610" limit="30" dots="false" show_read_more="true" show_date="false" show_date="false" show_author="false" show_content="false" ]งานใหม่ล่าสุด!!
  • ไม่มีหมวดหมู่

แจกฟรี!! แนวข้อสอบ ภาค ก. ก.พ. ภาษาไทย

แชร์ให้เพื่อน

แจกฟรี!! แนวข้อสอบ

ภาค ก. ก.พ.

ภาษาไทย

Chapter 1

คำ

…………..

 

ชนิดของคำในภาษาไทย

                ข้อสอบในหัวข้อนี้จะเป็นการถามลักษณะของคำชนิดต่างๆ และหน้าที่ของคำชนิดนั้นๆ ซึ่งในภาษาไทยนั้นแบ่งคำทั้งหมดออกเป็น 7 ชนิด ได้แก่

 

คำนาม

คือ คำที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ หรือสิ่งต่างๆ สามารถแบ่งย่อยออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่

  1. คำนามสามัญ คือ คำนามทั่วไปที่ไม่เฉพาะเจาะจงใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน ภูเขา

แม่น้ำ ท้องฟ้า สภาพภูมิอากาศ สภาพภูมิประเทศ การเมือง เศรษฐกิจ ธรรมชาติ ประเพณี วัฒนธรรม

ค่านิยม ฯลฯ

  1. คำนามวิสามัญ คือ คำนามที่เป็นชื่อของคำนามสามัญหรือคำนามที่มีลักษณะเป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์

สิ่งของ เช่น สมศรี สายสมร วัชระ วินัย กิ่งกมล (เป็นชื่อของคน) เจ้าด่าง เจ้าแต้ม เจ้าดำ คุณทองแดง

(เป็นชื่อของสัตว์) ฯลฯ

* ข้อสังเกต:  นอกจากนี้ยังมีชื่อของสถานที่หรือประเทศ เช่น วัดเบญจมบพิตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประเทศไทย จังหวัดกระบี่ โดยคำที่ขีดเส้นใต้ล้วนแต่เป็นชื่อเฉพาะทั้งสิ้น และคำนามวิสามัญจะตามหลังคำนามสามัญเสมอ

 

  1. คำอาการนาม คือ คำที่ใช้แสดงอาการของคำนามโดยการเติมคำว่า การ หน้าคำกริยา หรือ เติมคำว่า

ความ หน้าคำวิเศษณ์ เช่น การเรียน การอ่าน การเขียน การนอน การวิ่ง การนั่ง ความดี ความชั่ว ความ

เพียร ความสวย ความงาม ความรัก ฯลฯ

  1. คำลักษณนาม คือ คำที่ใช้แสดงลักษณะของคำนาม โดยมีคำลักษณนามที่เป็นลักษณะเฉพาะของคำนาม

นั้นๆ เช่น

–  ร่ม รถ ช้อน ส้อม เบ็ด                                                      คำลักษณะนามคือ                คัน

–  เกวียน เทียน สมุด หนังสือ เข็ด มีด หอก       คำลักษณะนามคือ                เล่น

     –  เรือ เครื่องบิน อ้อย ไม่ไผ่                                             คำลักษณะนามคือ                ลำ

–  จดหมาย หนังสือพิมพ์ หนังสือสัญญา          คำลักษณะนามคือ                ฉบับ

     –  แห อวน สวิง ตาข่ายดักปลา                                       คำลักษณะนามคือ                ปาก

     –  ปี่ ขลุ่ย                                                                                           คำลักษณะนามคือ                เลา

 

 

คำสรรพนาม

คือ คำที่ใช้เรียกแทนคำนาม สามารถแบ่งได้ 5 ชนิด ได้แก่

  1. บุรุษสรรพนาม คือ คำที่ใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ มีอยู่ 3 ชนิด ดังนี้

     1.1  สรรพนามบุรุษที่ 1 แทนผู้พูด เช่น ฉัน ข้า ข้าพเจ้า กระผม ผม ดิฉัน กู ฯลฯ

1.2  สรรพนามบุรุษที่ 2 แทนผู้ฟัง เช่น คุณ เธอ ท่าน เจ้า เอ็ง มึง ฯลฯ

1.3  สรรพนามบุรุษที่ 3 แทนผู้ที่ถูกล่าวถึง เช่น ท่าน เขา มัน หล่อน ฯลฯ

  1. สรรพนามไม่ชี้เฉพาะ คือ คำสรรพนามที่ไม่บอกความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ใคร อะไร ที่ไหน ใด
  2. สรรพานามชี้เฉพาะ คือ คำสรรพนามที่บอกความเฉพาะเจาะจง ได้แก่ นี่ นี้ นั่น นั้น โน่น โน้น นู่น นู้น
  3. สรรพนามถาม คือ คำสรรพนามที่ใช้ถาม ได้แก่ ใคร ที่ไหน อะไร ใด สังเกตได้ว่าคำสรรพนามถามมี

ลักษณะเหมือนกับคำสรรพนามไม่ชี้เฉพาะ แต่ข้อแตกต่างคือ คำสรรพนามจะอยู่ในรูปแบบของประโยค

คำถาม ส่วนสรรพนามไม่ชี้เฉพาะจะอยู่ในรูปแบบของประโยคบอกเล่ารูปแบบของประโยคคำถาม ส่วน

สรรพนามไม่ชี้เฉพาะจะอยู่ในรูปแบบของประโยคบอกเล่า

  1. สรรพนามแยกฝ่าย คือ คำสรรพนามที่ใช้แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่กล่าวถึงมีมากกว่าหนึ่ง ได้แก่ ต่าง บ้าง กัน

 

คำกริยา

คือ คำที่แสดงลักษณะการเคลื่อนไหวของคำนาม เช่น กิน เดิน นอน นั่ง ร้องเพลง หัวเราะ ร้องไห้ ปลิว

หล่น ล้ม ลื่น ฯลฯ

 

คำวิเศษณ์

คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือกระทั่งคำวิเศษณ์ด้วยกันเอง เพื่อบอก

ลักษณะเฉพาะของคำเหล่านั้น เช่น เร็ว แรง มาก ขาว ดำ สูง เตี้ย อ้วน ผอม อ๋อย แจ๋ ปี๋ เปรี้ยว หวาน เค็ม

ฯลฯ

 

คำบุพบท

คือ คำที่ใช้แสดงความเกี่ยวข้อง ความเป็นเจ้าของ หรือตำแหน่งของคำนาม เช่น ของ กับ แก่ แต่ ต่อ ที่ ใน

เพื่อ จาก ด้วย บน ล่าง ซ้าย ขวา กลาง ขอบ ริม ฯลฯ

 

คำสันธาน

คือ คำที่ใช้เชื่อมคำกับคำ ข้อความกับข้อความหรือประโยคกับประโยค แบ่งได้ 4 ชนิด ดังนี้

  1. เชื่อมความคล้อยตามกัน เช่น กับ และ
  2. เชื่อมความขัดแย้งกัน เช่น แต่ ทว่า
  3. เชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หรือ หรือไม่ก็
  4. เชื่อมความเป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะ เพราะฉะนั้น เพราะ … จึง

 

คำอุทาน

คือ คำที่ใช้แสดงอาการ ความรู้สึก เช่น โอ้โห ว้าว! ว้าย! อุ้ย! อ้าว! ฮิ้ว! เฮ้ย! กรี๊ด! ปัดโธ่! โถ! หลังคำอุทานจะมีเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) ตามหลังเสมอ

 

การอ่าน-การสะกดคำ

ข้อสอบในหัวข้อนี้จะเน้นไปที่การอ่านคำหรือสะกดคำให้ถูกต้องตามหลักภาษาไทย ซึ่งสามารถแยกได้

ดังนี้

คำที่ประและไม่ประวิสรรชนีย์

  1. คำที่ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่อ่านออกเสียงสระอะและมีรูปสระอะปรากฎอยู่ เช่น กระทะ กะทันหัน กระตือรือร้น ทะเลาะ ทะเล ประโยชน์ มะเขือ ระเด่น ระลอก คะนึง กะปิ จะละเม็ด ละเมาะ ฯลฯ
  2. 2. คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ คือ คำที่อ่านออกเสียงสระอะแต่ไม่มีรูปสระอะปรากฎอยู่ เช่น ปทุม สไบ ปฏิกิริยา ปฏิสันถาร ปรารถนา กรรมการ ธรรมดา สนิท ทนาย พนักงาน พนัก ชอุ่ม ผจญ สงบ คดี ฯลฯ

ในการที่จะเขียนหรืออ่านคำที่ประวิสรรชนีย์หรือไม่ประวิสรรชนีย์ได้ถูกต้องนั้น จะต้องอาศัยกีรสังเกตและการจดจำ หากเกิดความไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เพราะถือว่าเป็นหลักการที่ได้รับการยอดรับและถูกต้องที่สุด

การใช้ทัณฑฆาต (์)

ทัณฑฆมาต หมายถึง การหยุดเสียง หากพบเครื่องหมายนี้บนพยัญชนะตัวใดก็ตาม นั่นแสดงว่าในการอ่านเราจะไม่อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวนั้น และเรียกพยัญชนะที่มีทัณฑฆาตกำกับว่า ตัวการันต์ เช่น พันธ์ (อ่านว่า พัน มี ธ เป็นตัวการันต์) สวรรค์ (อ่านว่า สะ-หวัน มี ค เป็นตัวการันต์) กันต์ (อ่านว่า กัน มี ต เป็นตัวการันต์) ฯลฯ ซึ่งคำที่มีทัณฑฆาตนั้นเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศทั้งสิ้น อาทิ อังกฤษ บาลี สันสกฤต ในคำไทยแท้จะไม่มีการใช้รูปทัณฑฆาต ไม่เพียงเท่านี้ตัวการันต์ยังสามารถมีมากกว่า 1 ตัวก็ได้ เช่น วันจันทร์ (ทร เป็นตัวการันต์) ไม้จันทน์ (ทน เป็นตัวการันต์) พระลักษมณ์ (ษมณ เป็นตัวการรันต์) ฯลฯ

รูปและเสียงวรรณยุกต์

ในภาษาไทยนั้นวรรณยุกต์มีทั้งหมด 4 รูป ได้แก่ ­่้๊๋ และมี 5 เสียง ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา มีหลักการเขียนและการผันเสียงวรรณยุกต์ ดังนี้

  1.   อักษรกลาง ได้แก่ ก จ ต ฎ ต ฏ บ ป อ ที่เป็นคำเป็น (คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว และ/หรือ มีตัวสะกดในมาตรแม่ กง กน กม เกย เกอว) มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญสามารถผันเสียงได้ครบห้าเสียงและใส่รูปวรรณยุกต์ตามเสียง เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
  2. อักษรกลางคำตาย (คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น หรือ คำที่สะกดด้วยมาตราแม่ กด กบ กก) มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอกไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์ – เช่น แปด ติด แตก ปัด ฯลฯ
  3. อักษรสูง ได้แก่ ผ ผ ถ ฐ ข ฃ  ส ศ ษ ห ฉ ที่เป็นคำเป็น (คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว และ/หรือมีตัวสะกดในมาตราแม่ กง กน กม เกย เกอว) มีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา เวลาเขียนไม่ต้องใส่รูป ๋ สามารถผันได้ 3 เสียง คือ เอก โท และจัตวา เช่น ผ่า ผ้า ผา
  4. อักษรสูงคำตาย (คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น หรือคำที่สะกดด้วยมาตรแม่ กด กบ กก) มีพื้นเสียงเป็นเสียงเอก สามารถผันได้ 2 เสียง คือ เอก โท เช่น ขัด ขั้ด
  5. อักษาต่ำ ได้แก่ ง ญ น ย ณ ร ว ม ล ฬ พ ฟ ท ธ ฒ ฑ ค ฅ ซ ฮ ช ฌ ที่เป็นคำเป็น (คำที่ประสมด้วยสระเสียงยาว และ/หรือมีตัวสะกดในมาตราแม่ กง กน กม เกย เกอว) มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ สามารถผันได้ 3 เสียง คือ สามัญ โท ตรี เช่น ขาง ข่าง ข้าง, นาง น่าง น้าง
  6. อักษรต่ำ คำตายที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น มีพื้นเสียงเป็นเสียงตรี เวลาเขียนไม่ต้องใช้รูปวรรณยุกต์ตรี เช่น นะ คะ ละ ยะ
  7. อักษรต่ำ คำตายที่ประสมด้วยสระเสียงยาว มีพื้นเสียงเป็นเสียงโท เวลาเขียนไม่ต้องใส่รูปวรรณยุกต์โท เช่น ลาก มาก ฟาด เทิด
  8. อักษรต่ำไม่มีรูปวรรณยุกต์๊ ใช้ เพราะฉะนั้นคำที่เขียนด้วยอักษรต่ำแต่ผันเสียงเป็นเสียงตรี จะใช้รูปวรรณยุกต์ ้ แทน เช่น โน้ต น้อง ล้าง ฟ้า นี้ และคำที่มีเสียงวรรณยุกต์โท จะเขียนโดยใช้รูปวรรณยุกต์ ่ เช่น ล่าง เล่า ร่วง มี่ พี่ คั่น ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของอักษาต่ำเท่านั้น

ข้อสอบ ก.พ.,แนวข้อสอบ ก.พ.,แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ข,แนวข้อสอบ ก.พ. เฉลย,แนวข้อสอบ ก.พ. 2562,แนวข้อสอบ ภาษาอังกฤษ ก.พ.,เฉลยข้อสอบ ก.พ.,หนังสือ เตรียม สอบ ก.พ.,หนังสือ คู่มือ ก.พ.,หนังสือ สอบ ก.พ.,ข้อสอบ ภาค ก.,ข้อสอบ ภาค ก. ก.พ.,แนวข้อสอบ ภาค ก.,แนวข้อสอบ ภาค ก. ก.พ.,แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก.,แนวข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. 2562,แนวข้อสอบ ภาค ก. ก.พ. 2562,แนวข้อสอบ ภาค ก. 2562,แนวข้อสอบ ภาค ก. ภาค ข,แนวข้อสอบ ภาค ก. เฉลย,แนวข้อสอบ ภาษาอังกฤษ ภาค ก.,หนังสือ คู่มือ ภาค ก. ก.พ.,หนังสือ เตรียม สอบ ก.พ. ภาค ก.,หนังสือ เตรียม สอบ ภาค ก.,เฉลยข้อสอบ ภาค ก.,

Facebook Comments

You may also like...

ACTGROUP แอ๊คกรุ๊ป ติวสอบท้องถิ่น สอบ กพ. 2562 - 2563 แนวข้อสอบ กพ ธ.ก.ส. รับสมัครสอบ ข่าวสอบราชการ สอบ ก.พ. 2563 รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ งานเอกชน หางานราชการ สมัครงานราชการ และข่าวสารการรับสมัครงานมากมายที่นี่ี 2562-2563