กทม.กฎหมายที่ทุกตำแหน่งต้องสอบหายไป..อาจไม่ได้หายจริง
“กทม.กฎหมายที่ทุกตำแหน่งต้องสอบหายไป..อาจไม่ได้หายจริง
สอบ กทม. ครั้งที่ 1/2561 กฎหมายที่ทุกตำแหน่งต้องสอบที่หายไป..อาจไม่ได้หายจริง
หลายท่านที่เคยสอบ กทม. หรือ สอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ที่เคยผ่านมา อาจจะพบกับหลักสูตรการสอบที่ทุกตำแหน่งต้องสอบ เช่น
- การปกครองท้องถิ่น หลักธรรมาภิบาล หลักเศรษฐกิจพอเพียง หลักสิทธิมนุษญชน
- กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร
- กฎหมายว่าด้วยระบเียบข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร
- กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
- ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยวิธีปฏิบัติงานสารบรรณ
ซึ่งจะอยู่ในส่วนของภาค ก. นอกเหนือจากวิชาความสามารถทั่วไป หรือคณิตศาสตร์ และภาษาไทย แม้ว่าปีนี้จะมีวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเข้ามา จึงเกิดคำถามว่าเรื่องดังกล่าวหายไปไหน การสอบ กทม. ครั้งที่ 1/2561 ที่จะเปิดรับสมัครทางอินเตอร์เน็ตในวันที่ 6-19 พฤศจิกายน 2561 ที่จะมาถึงนี้จะไม่มีการสอบเรื่องเหล่านี้เลยหรือ เพราะมีการเปลี่ยนหลักเกณ์ เงื่อนไขการรับสมัครสอบข้าราชการกรุงเทพมหานครใหม่ โดยเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษ ในส่วนของภาค ก. รับผลการสอบภาค ก. ก.พ. แทนการสอบภาค ก. กทม. จึงปรับหลักสูตรการสอบเพื่อการสอบ ภาค ก. กทม. และ ภาค ก. ก.พ. อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน ไม่ให้เกิดมาตรฐานที่ลดหลั่นกันระหว่างผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. และภาค ก. กทม. เพราะในส่วนของภาค ก. ก.พ. มีเพียงวิชาความสามารถทั่วไป ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่ไม่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ความรอบรู้ที่เกี่ยวข้องกับของกรุงเทพมหานคร อีกทั้ง กทม.ยังจัดการขึ้นทะเบียนผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ที่ดำเนินการจัดสอบโดย กทม. ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตอีกด้วย เพื่อในการสอบแข่งขันบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร ภาค ข. ครั้งต่อๆ ไป ผู้ที่เคยสอบผ่านภาค ก. ที่ดำเนินการจัดสอบโดย กทม. จะได้ไม่ต้องสอบภาค ก. อีกต่อไป
แต่เมื่ออ่านหลักสูตรการสอบในประกาศรับสมัครสอบกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 1/2561 ให้ดีๆ จะพบย่อหน้าหนึ่งระบุไว้ในส่วนของการสอบภาค ค. ซึ่งมีคะแนน 100 คะแนน โดยปกติหน่วยงานทั่วไป จะเป็นการสอบสัมภาษณ์ แต่การสอบ กทม. ปกติอาจจะมีการทดสอบสมรรถนะในการสอบภาค ค. ร่วมด้วย แต่สำหรับปีนี้ มีข้อความดังนี้
ค. การสอบแข่งขันเพื่อวัดภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (คะแนนเต็ม 100 คะแนน) ประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ โดยวิธีดังนี้
- การประเมินจิตวิทยา โดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน
- การทดสอบสมรรถนะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยวิธีสอบข้อเขียน
- การสัมภาษณ์ เกี่ยวกับทัศนคติสำหรับการปฏิบัติราชการ สมรรถนะ และหรือความเหมาะสมในด้านต่างๆ เช่น ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพ และพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขัน
ค่อนข้างชัดเจนว่าในข้อ 2 มีการระบุการทดสอบสมรรถนะของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ โดยวิธีสอบข้อเขียน ซึ่งบางทีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของกรุงเทพมหานคร ที่หายไปในหลักสูตรการสอบ กทม. ในส่วน ภาค ก. จะย้ายไปอยู่ในส่วนของภาค ค. แทน อย่างไรก็ดีเป็นการลดภาระการเตรียมตัวสอบได้ไม่น้อย เพราะการสอบภาค ค. คนละวันกับการสอบภาค ก. กทม. และ ภาค ข.กทม. ซึ่งทำให้มีเวลาในการเตรียมตัวอาจจะนานเป็นเดือนเพราะหลังจากสอบภาค ก. และ ภาค ข. แล้วกว่าจะสอบภาค ค. ก็ต้องตรวจภาค ก. และภาค ข. และประกาศผลสอบ ซึ่งอาจกินเวลาหลายสัปดาห์ หรืออาจเป็นเดือน
สำหรับบางท่านที่ยังสอบไม่ผ่านภาค ก. ก.พ. อาจจะรู้สึกว่าตนเองเสียเปรียบเพราะต้องสอบทั้งภาค ก. และภาค ข. พร้อมกัน ในขณะที่ผู้ที่สอบผ่านภาค ก. ก.พ. แล้ว เตรียมสอบเฉพาะภาค ข. เท่านั้น แนะนำว่าอย่าเพิ่งถอดใจขอเพียงได้ขึ้นบัญชีรอเรียกบรรจุ โอกาสที่ กทม. จะเรียกบรรจุจนหมดบัญชีมีสูงกว่าหน่วยงานอื่น อันดับที่สองร้อยกว่าสามร้อยกว่าเรียกหมดบัญชีสบายๆ
แต่ที่น่ากังวลจริงๆ คือ ความยากของข้อสอบ เพราะการสอบ กทม. แต่ละครั้งจะมีผู้สอบผ่านเกณฑ์ได้ขึ้นบัญชีรอเรียกบรรจุจำนวนไม่มากนัก รู้จริงเก่งจริง
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่มุ่งมั่นใฝ่ฝันเป็นข้าราชการกรุงเทพมหานคร โอกาสดีจ่ออยู่ที่ปลายจมูกทุกคนอยู่ที่ใครจะคว้าเอาไว้ได้..เท่านั้นเอง
ตำแหน่ง: กฎหมายที่ทุกตำแหน่งต้องสอบหายไป..อาจไม่ได้หายจริง
ระดับการศึกษา:
อัตราเงินเดือน: –
อัตราว่าง:
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
วิธีการสมัครงาน กทม. :ตนเอง
ผู้ประสงค์จะสมัคร กทม. ตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2561 – 20 พฤศจิกายน 2561 (ในวันและเวลาราชการ)