[recent_post_slider design="design-4" category="6481,5610" limit="30" dots="false" show_read_more="true" show_date="false" show_date="false" show_author="false" show_content="false" ]งานใหม่ล่าสุด!!

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 646
  • File Size 30.74 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่งที่สำคัญมากเพราะเป็นแหล่งรายได้สำคัญของรัฐบาล และเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอาจกล่าวได้ว่า คือ ภาษีที่เก็บจากเงินได้ของบุคคลธรรมดานั่นเองบุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ไม่ว่าประเภทใดชนิดใด ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นให้แล้วมักอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีนี้ด้วย

ฐานภาษีของภาษีนี้ เรียกว่าเงินได้สุทธิซึ่งคำนวณได้จากการนำเงินได้พึงประเมินตลอดทั้งปีภาษี (ปีปฏิทิน) ไปหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ที่กฎหมายให้หัก เมื่อได้จำนวนเงินได้สุทธิเท่าใดแล้ว จึงคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิตามอัตราและวิธีการที่กฎหมายกำหนด ถ้ามีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด หรือไม่มีเงินได้สุทธิเหลือ ก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายกำหนดเป็นอย่างอื่น

สำหรับวิธีการเสียภาษี โดยทั่วไปกฎหมายให้ผู้มีเงินได้ในปีภาษี (ปีปฏิทิน) ที่ล่วงมาแล้วมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประเมินตนเอง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือ สถานที่อื่นที่กฎหมายกำหนด ภายในวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี) นอกจากผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นรายปีแล้ว บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ผู้มีเงินได้ต้องชำระภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาด้วยการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี บางกรณีก็กำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้ทำการหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่าย นำส่งต่อกรมสรรพากร และบางกรณีก็กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมิน มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีก่อนถึงกำหนดเวลาได้ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตลอดจนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ประเมินให้ชำระล่วงหน้านี้ ถือเป็นเครดิตในการคำนวณเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี ดังนั้นในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ละปี จึงอาจมีกรณีเสียภาษีเพิ่มเติม หรือบางกรณีอาจได้รับภาษีคืนก็ได้ เช่น ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเกินกว่าที่จะต้องเสีย เป็นต้น ผู้ฝ่าฝืนไม่เสียภาษี อาจถูกประเมินให้เสียภาษีพร้อมด้วยดอกเบี้ยปรับ และหรือเงินเพิ่ม ซึ่งอาจถูกดำเนินการอายัด หรือยึดทรัพย์สินขายทอดตลาด นำเงินไปชำระภาษี ตลอดจนถูกดำเนินคดีอาญาได้

 

  1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

 

คำว่า “ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ต่างจากคำว่า “ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นแบบแสดงรายการ” และต่างจากคำว่า “ผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากร”

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 490
  • File Size 4.68 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร

 

รัฐบาลในปัจจุบันมีหน้าที่หลายประการในการทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข  นอกจากหน้าที่ในการรักษาความสงบภายในประเทศ  และป้องกันประเทศจากการรุกรานของข้าศึกศัตรูแล้ว ยังมีหน้าที่ในด้านการจัดการดูแลและส่งเสริมการสาธารณสุข การศึกษา การเกษตร การอุตสาหกรรม  การสื่อสาร  การพลังงาน  และการพาณิชย์อื่นๆ อีกด้วยการดำเนินกิจการของรัฐบาลดังกล่าว   เห็นได้ชัดเจนว่าต้องมีค่าใช้จ่ายรัฐบาลจึงจำเป็นต้องหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายนั้น รายได้ของรัฐบาลได้มาจากหลายทาง  เช่น จากการเก็บภาษีอากร การขายสินค้า  การให้บริการ  การรับบริจาคหรือความช่วยเหลือ ฯลฯ แต่ในบรรดารายได้เหล่านี้  ภาษีอากรเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญที่สุดของรัฐบาล  บางครั้งรัฐบาลอาจต้องกู้ยืมเงิน หรือพิมพ์ธนบัตรด้วย

 

  1. ความหมายของภาษีอากร

ความหมายของภาษีอากรอาจแบ่งเป็น 2 แนว

แนวที่หนึ่ง อธิบายว่า ภาษีอากรคือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำไปใช้   เพื่อประโยชน์ส่วนรวม  โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร

แนวที่สอง อธิบายว่า ภาษีอากรคือเงินได้หรือทรัพยากรที่เคลื่อนย้ายจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล  แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล

 

2.วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษีอากร 

การเก็บภาษีอากร นอกจากมีวัตถุประสงค์ในการหารายได้เพื่อให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว ในปัจจุบันภาษีอากรยังเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้  ส่งเสริมความเจริญเติบโตธุรกิจการค้า  รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ  ช่วยควบคุมการบริโภคของประชาชน  หรือเพื่อสนองนโยบายบางประการของรัฐบาล  (เช่น  การศึกษา  การสวัสดิการสังคม  นโยบายประชากร)  ด้วย

 

3.ลักษณะของภาษีอากรที่ดี 

รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักมีบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามกฎหมายบัญญัติในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น  มีหลักการบ่งประการที่ควรคำนึงถึง  เพื่อประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากรและให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ภาษีอากรที่ดีมีลักษณะดังนี้

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้นิติบุคคล

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้นิติบุคคล
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 545
  • File Size 28.97 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ภาษีเงินได้นิติบุคคล

 

ภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทางตรงประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้ คือ ภาษีที่เก็บจากการมีเงินได้ ผู้มีเงินได้ที่เป็นบุคคลธรรมดา ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ถ้าผู้มีเงินได้เป็น “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล” ซึ่งมีบทนิยามเป็นพิเศษ ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ที่นิยมเรียกกันว่า ภาษีเงินได้นิติบุคคลแทน หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับความหมายของเงินได้พึงประเมินและประเภทเงินได้พึงประเมินในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานำมาใช้กับภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย แต่หลักเกณฑ์เรื่องอื่นๆ เช่น แหล่งเงินได้ การยกเว้นภาษี วิธีคำนวณภาษี ฯลฯ ในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น โดยทั่วไปไม่นำมาใช้กับภาษีเงินได้นิติบุคคล อนึ่ง หลักเกณฑ์ในเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่ให้อนุโลมนำไปใช้กับเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็มีเช่นกัน ได้แก่ การคำนวณหากำไรสุทธิ หรือที่เรียกว่าการหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็น และสมควรในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปได้แก่ฐานกำไรสุทธิ (มีฐานอื่นอีก) ซึ่งคำนวณได้จากรายได้และรายจ่ายของกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี (เท่ากับ 12 เดือน) ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้แต่อย่างใด ดังนั้นเพื่อให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นไปตามนโยบายของรัฐ และป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษี กฎหมายจึงมีข้อกำหนดบางประการเกี่ยวกับการคำนวณหากำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับปรุงกำไรสุทธิตามหลักการบัญชีให้เป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ก่อนนำกำไรสุทธิดังกล่าวไปคำนวณเสียภาษีตามอัตราที่กำหนดไว้

สำหรับวิธีการเสียภาษี กฎหมายกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยทั่วไปยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายรอบระยะเวลาบัญชี และเพื่อป้องกันปัญหาภาษีอากรค้าง กฎหมายยังกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษีเงินได้จากฐานกำไรสุทธิ ต้องเสียภาษีก่อนถึงกำหนดเวลา เรียกว่า ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี นอกจากนี้ยังกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในบางกรณีมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายนำส่งต่อกรมสรรพากรอีกด้วย ภาษีครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี และภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยทั่วไปถือเป็นเครดิตของผู้มีเงินได้ในการคำนวณภาษีสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ดังนั้น ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จึงอาจมีกรณีที่ต้องเสียภาษีเพิ่มเติมหรือบางกรณีอาจได้รับภาษีคืนก็ได้ ผู้ฝ่าฝืนไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในกำหนดเวลาอาจถูกบังคับให้ชำระหนี้ และถูกลงโทษในทำนองเดียวกับเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! กฎหมายการบัญชี

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! กฎหมายการบัญชี
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 464
  • File Size 7.40 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! กฎหมายการบัญชี

กฎหมายการบัญชี

 

กฎหมายการบัญชี กำหนดหน้าที่และความรับผิดในการจัดทำบัญชีแก่บุคคลหรือนิติบุคคล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจการค้า และเพื่อให้สอดคล้องกับระบบภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แต่เดิมกฎหมายแม่บทเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้แก่ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 ซึ่งได้ใช้บังคับมานานแล้วและมีความล้าสมัย ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังนั้น จึงมีการตราพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (ร.จ. เล่ม 117 ตอนที่ 41 ก วันที่ 12 พฤษภาคม 2543) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2543

 

  1. หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543

 

1.1 แก้ไขหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ธุรกิจทั้งนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ที่ประกอบธุรกิจตามประเภทที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด ต้องจัดทำบัญชีเป็นกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเพิ่มกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีด้วย

บุคคลธรรมดา และห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

1.2 กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ามามีส่วนรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ โดยแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้ทำหน้าที่และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ชัดเจน ซึ่งมีการเพิ่มโทษจากกฎหมายเดิมโดยบทกำหนดโทษมีทั้งโทษปรับและจำคุก สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีที่กระทำความผิด

1.3 ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง  โดยให้คำนึงถึงมาตรฐานการบัญชี และข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชีประกอบด้วย

1.4 กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง  ยกเว้นให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุน  สินทรัพย์  หรือรายได้  รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการไม่เกินกำหนดโดยกฎกระทรวง  ไม่ต้องรับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! อากรแสตมป์

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! อากรแสตมป์
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 492
  • File Size 7.01 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! อากรแสตมป์

อากรแสตมป์

 

อากรแสตมป์ เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการทำตราสาร 2 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์

 

  1. ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์

 

คำว่า “ตราสาร” ตามประมวลรัษฎากร หมายความว่า เอกสารที่ต้องเสียอากรตามหมวดอากรแสตมป์ ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์มีรายละเอียดตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ดังนี้

 

 

บัญชีอัตราอากรแสตมป์

ลักษณะแห่งตราสาร ค่าอากรแสตมป์ ผู้ที่ต้องเสียอากร ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์
1. เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ

ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งค่าเช่าหรือเงินกินเปล่า หรือทั้งสองอย่างรวมกันตลอดอายุการเช่า

หมายเหตุ

(1) ถ้าสัญญาเช่ามิได้กำหนดอายุการเช่าให้ถือว่ามีกำหนด 3 ปี

(2) ถ้าสัญญาเช่าฉบับใดครบกำหนดอายุการเช่า หรือครบกำหนด 3 ปี ตาม (1) แล้วผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่และให้ผู้เช่ารู้ความนั้นแล้วไม่ทักท้วง ทั้งมิได้ทำสัญญาใหม่ ให้ถือว่าสัญญาเช่าเดิมนั้นได้เริ่มทำกันใหม่ โดยไม่มีกำหนดอายุการเช่า และต้องเสียอากรภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ถือว่าเริ่มทำสัญญาใหม่นั้น

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

เช่าทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน

2. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคลหรือองค์การใด ๆ เป็นผู้ออก

คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสารแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

ก. โอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย

ข. โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก

3. เช่าซื้อทรัพย์สิน

ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของเงิน 1,000 บาท แห่งราคาทั้งหมด

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

เช่าซื้อทรัพย์สินใช้ในการทำนา ไร่ สวน

4. จ้างทำของ

ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท แห่งสินจ้างที่กำหนดไว้

หมายเหตุ

(1) ถ้าในเวลากระทำสัญญาจ้างทำของไม่ทราบจำนวนสินจ้างว่าเป็นราคาใด ให้ประมาณจำนวนสินจ้างตามสมควรแล้วเสียอากรตามจำนวนสินจ้างที่ประมาณนั้น

(2) ถ้ามีการรับเงินสินจ้างเป็นคราว ๆ และอากรที่เสียไว้เดิมยังไม่ครบ ให้เสียอากรเพิ่มเติมให้ครบตามจำนวนที่ต้องเสียทุกครั้งในทันทีที่มีการรับเงิน

(3) เมื่อการรับจ้างทำของได้สิ้นสุดลงแล้ว และปรากฏว่าได้เสียอากรเกินไปให้ขอคืนได้

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

สัญญาที่ทำขึ้นนอกประเทศไทยและการปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นมิได้ทำในประเทศไทย

5. กู้ยืมเงิน หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร

ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของเงิน 2,000 บาท แห่งยอดเงินที่กู้ยืมหรือตกลงให้เบิกเกินบัญชี

ค่าอากรตามลักษณะแห่งตราสารนี้ เมื่อคำนวณแล้วถ้าเกิน 10,000 บาท ให้เสีย 10,000 บาท

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมจากสหกรณ์หรือสหกรณ์กู้ยืมจากสหกรณ์ หรือจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

6. กรมธรรม์ประกันภัย

(ก) กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุก 250 บาท หรือเศษของ 250 บาท แห่งเบี้ยประกันภัย

(ข) กรมธรรม์ประกันชีวิตทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย

(ค) กรมธรรม์ประกันภัยอื่น ๆ ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่งจำนวนเงินที่เอาประกัน

(ง) กรมธรรม์เงินปี ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาง แห่งต้นทุนเงินปีนั้น หรือถ้าไม่ปรากฏต้นทุนให้คิดทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท แห่ง 33 1/3 เท่าของรายได้ประจำปี

        (จ) กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง

(ฉ) บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม

 

 

 

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

(ก) การประกันภัยสัตว์พาหนะซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม

(ข) บันทึกประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราวซึ่งรับรองจะออกกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริง แต่ถ้าผู้ทรงจะเรียกร้องเอาสิทธิอย่างอื่น นอกจากให้ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยตัวจริงแล้วต้องปิดแสตมป์เสียก่อน เช่นเดียวกับที่จะต้องปิดสำหรับประกันภัยตัวจริง

7. ใบมอบอำนาจ คือ ใบตั้งตัวแทนซึ่งมิได้กระทำในรูปลักษณะตราสารสัญญา รวมทั้งใบตั้งอนุญาโตตุลาการ

(ก) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคน การทำการครั้งเดียว

(ข) มอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียว

(ค) มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนต่างคนต่างกระทำกิจการแยกกันได้ คิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ

หมายเหตุ

 

 

ถ้าผู้มอบอำนาจมีหลายคน แต่มิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวบุคคลผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง

        ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

(1) ใบแต่งทนายและใบมอบอำนาจซึ่งทนายความให้แก่เสมียนของตนเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล

(2) ใบมอบอำนาจให้โอนหรือให้กระทำการใด ๆ เกี่ยวด้วยสัตว์พาหนะตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ

(3) ใบมอบอำนาจให้รับเงินหรือสิ่งของแทน

(4) ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบและใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์

8. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท

(ก) มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว

(ข) มอบฉันทะสำหรับการประชุมกว่าครั้งเดียว

9. (1) ตั๋วแลกเงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ

     (2) ตั๋วสัญญาใช้เงินหรือตราสารทำนองเดียวกับที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

ถ้าตั๋วออกเป็นสำรับและฉบับแรกในสำรับนั้นปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว ฉบับอื่น ๆ ไม่ต้องปิดอีก แต่ต้องสลักหลังฉบับนั้น ๆ ไว้ว่า “ได้เสียอากรแล้ว”

10. บิลออฟเลดิง

 

หมายเหตุ

ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ

11. (1) ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใด ๆ

(2) พันธบัตรของรัฐบาลใด ๆ ที่ขายในประเทศไทย

ทุกจำนวนเงิน 100 บาท หรือเศษของ 100 บาท

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของสหกรณ์

12. เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใด ๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค   ฉบับละ

13. ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย

 

14. เลตเตอร์ออฟเครดิต

(ก) ออกในประเทศ

เงินต่ำกว่า 10,000 บาท

เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป

(ข) ออกในต่างประเทศและให้ชำระเงินในประเทศไทยคราวละ

หมายเหตุ

ตราสารเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ออกในประเทศไทย และให้ชำระเงินในต่างประเทศ ต้องทำสำเนาเก็บไว้ในประเทศไทย ส่วนการเสียอากรให้ปิดแสตมป์บริบูรณ์เฉพาะในฉบับสำเนาดังกล่าวนั้น

15. เช็คสำหรับผู้เดินทาง

(ก) ออกในประเทศ ฉบับละ

(ข) ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ

16. ใบรับของ ซึ่งออกให้เนื่องในกิจการรับขนสินค้าโดยทางน้ำ ทางบก และทางอากาศ คือตราสารซึ่งลงลายมือชื่อพนักงานหรือนายสินค้าของยานพาหนะรับขนส่ง ซึ่งออกรับของดังระบุไว้ในใบรับนั้น เมื่อไม่ได้ออกบิลออฟเลดิง ฉบับละ

หมายเหตุ

ถ้าออกเป็นสำรับให้ปิดแสตมป์ตามอัตราทุกฉบับ

17. ค้ำประกัน

(ก) สำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้

(ข) สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท

(ค) สำหรับจำนวนเงินเกิน 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

(ง) สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

(ก) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมหรือยืมเพื่อการบริโภคหรือการเกษตรกรรม

(ข) ค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืม

18. จำนำ

จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท

ถ้าการจำนำมิได้จำกัดจำนวนหนี้ไว้

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

(ก) ตั๋วจำนำของโรงรับจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย

(ข) จำนำอันเกี่ยวกับกู้ยืมซึ่งได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้วตามข้อ 5

19. ใบรับของคลังสินค้า

20. คำสั่งให้ส่งมอบของ คือ ตราสารซึ่งบุคคลผู้ปรากฏชื่อในตราสารนั้น หรือซึ่งบุคคลผู้นั้นตราชื่อไว้ หรือผู้ทรงมีสิทธิที่จะรับมอบสินค้าอันอยู่ในอู่ หรือเมืองท่า หรือคลังสินค้าซึ่งรับเก็บหรือรับฝากโดยเรียกเก็บค่าเช่าหรือรับสินค้าอันอยู่ที่ท่าสินค้าโดยที่เจ้าของลงลายมือชื่อ หรือมีผู้อื่นลงลายมือชื่อแทนในเมื่อขายหรือโอนทรัพย์สินอันปรากฏในตราสารนั้น

21. ตัวแทน

(ก) มอบอำนาจเฉพาะการ

(ข) มอบอำนาจทั่วไป

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

การตั้งตัวแทนในกรณีสหกรณ์เป็นตัวการ

22. คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ

(ก) ในกรณีซึ่งพิพาทกันด้วยจำนวนเงินหรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท

(ข) ในกรณีอื่นซึ่งไม่กล่าวถึงจำนวนเงินหรือราคา

23. คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร

คือ ตราสารซึ่งมีข้อความอย่างเดียวกันกับต้นฉบับ หรือต้นสัญญาและผู้กระทำตราสารได้ลงลายมือชื่อไว้ อย่างเดียวกับต้นฉบับ

 

 

 

(ก) ถ้าต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท

 

(ข) ถ้าเกิน 5 บาท

        ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์

 

 

24. หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

25. ข้อบังคับของบริษัทจำกัดที่ส่งต่อนายทะเบียน

26. ข้อบังคับใหม่หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับของบริษัทจำกัดซึ่งเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ส่งต่อนายทะเบียน

27. หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน

(ก) หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

(ข) หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

28. ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้

(ก) ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล

(ข) ใบรับสำหรับการโอนหรือก่อตั้งสิทธิใด ๆ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ในเมื่อนิติกรรมที่เป็นเหตุให้ออกใบรับนั้นมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย

(ค) ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยางพาหนะซึ่งมีการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยยานพาหนะนั้น ๆ

ถ้าใบรับตาม (ก)(ข) หรือ (ค) มีจำนวนเงินตั้งแต่ 200 บาท ขึ้นไปทุก 200 บาทหรือเศษของ 200 บาท

ยกเว้นไม่ต้องเสียอากร

ใบรับ สำหรับจำนวนเงินที่ผู้รับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

1 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1 บาท

 

 

 

 

 

 

 

1 บาท

 

 

 

 

1 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1 บาท

 

1 บาท

 

1 บาท

 

1 บาท

 

 

 

1 บาท

 

กึ่งอัตราซึ่ง

เรียกเก็บ

สำหรับกรม

ธรรม์เดิม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

10 บาท

 

30 บาท

 

30 บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

20 บาท

100 บาท

3 บาท

 

3 บาท

 

 

 

 

 

2 บาท

 

 

 

5 บาท

 

1 บาท

 

 

 

3 บาท

5 บาท

 

 

 

 

20 บาท

30 บาท

20 บาท

 

 

 

 

 

 

 

3 บาท

3 บาท

 

1 บาท

 

 

 

 

 

 

 

10 บาท

1 บาท

5 บาท

 

10 บาท

 

 

 

 

 

 

1 บาท

1 บาท

 

 

 

 

 

1 บาท

1 บาท

 

 

 

 

 

 

10 บาท

30 บาท

 

 

 

1 บาท

 

10 บาท

 

 

 

 

 

 

 

1 บาท

 

5 บาท

 

 

 

 

200 บาท

200 บาท

 

50 บาท

 

 

 

100 บาท

50 บาท

 

 

 

 

 

1 บาท

 

 

ผู้ให้เช่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้โอน

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ให้เช่า

 

 

 

 

ผู้รับจ้าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ให้กู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

 

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้มอบอำนาจ

 

ผู้มอบอำนาจ

 

ผู้มอบอำนาจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้มอบฉันทะ

ผู้มอบฉันทะ

ผู้สั่งจ่าย

 

ผู้ออกตั๋ว

 

 

 

 

 

ผู้กระทำตราสาร

 

 

 

ผู้ทรงตราสาร

 

ผู้ทรงตราสาร

 

 

 

ผู้สั่งจ่าย

ผู้รับฝาก

 

 

 

 

ผู้ออกตราสาร

ผู้ออกตราสาร

ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

ผู้ออกเช็ค

ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

ผู้ออกใบรับ

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน

 

ผู้ค้ำประกัน

 

 

 

 

 

 

ผู้รับจำนำ

ผู้รับจำนำ

 

 

 

 

 

นายคลังสินค้า

ผู้ออกคำสั่ง

 

 

 

 

 

 

ตัวการ

ตัวการ

 

 

 

อนุญาโตตุลาการ

 

อนุญาโตตุลาการ

 

(1) ถ้าไม่มีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาคนที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับเป็นผู้เสีย

(2) ถ้ามีบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สัญญาบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งนั้นต้องเป็นผู้เสียอากร

 

ผู้เริ่มก่อการ

กรรมการ

 

กรรมการ

 

 

 

ผู้เป็นหุ้นส่วน

ผู้เป็นหุ้นส่วน

 

 

 

 

 

ผู้ออกใบรับ

 

 

ผู้เช่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้รับโอน

 

 

 

 

 

 

 

ผู้เช่า

 

 

 

 

ผู้รับจ้าง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้กู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

 

 

ผู้รับประกันภัย

 

ผู้รับประกันภัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้รับมอบอำนาจ

 

ผู้รับมอบอำนาจ

 

ผู้รับมอบอำนาจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผู้มอบฉันทะ

ผู้มอบฉันทะ

ผู้สั่งจ่าย

 

ผู้ออกตั๋ว

 

 

 

 

 

ผู้กระทำตราสาร

 

 

 

ผู้ทรงตราสาร

 

ผู้ทรงตราสาร

 

 

 

ผู้สั่งจ่าย

ผู้รับฝาก

 

 

 

 

ออกตราสาร

ผู้ออกตราสาร

ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

 

 

 

 

 

 

ผู้ออกเช็ค

ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย

ผู้ออกใบรับ

 

 

 

 

 

 

 

ผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน

 

ผู้ค้ำประกัน

 

 

 

 

 

 

ผู้รับจำนำ

ผู้รับจำนำ

 

 

 

 

 

นายคลังสินค้า

ผู้ออกคำสั่ง

 

 

 

 

 

 

ตัวการ

ตัวการ

 

 

 

อนุญาโตตุลาการ

 

อนุญาโตตุลาการ

 

 

 

 

 

 

 

คนเดียวกับผู้ขีดฆ่าต้นฉบับ

คนเดียวกับผู้ขีดฆ่าต้นฉบับ

 

 

 

ผู้เริ่มก่อการ

กรรมการ

 

กรรมการ

 

 

 

ผู้เป็นหุ้นส่วน

ผู้เป็นหุ้นส่วน

 

 

 

 

 

ผู้ออกใบรับ

 

 

 

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีอากร

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีอากร
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 542
  • File Size 24.87 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีอากร

เกร็ดเพิ่มเติม

National Single Window : NSW

คืออะไร : NSW เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในกระบวนการ นำเข้าส่งออกสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ในการตรวจสอบใบอนุญาต และใบรับรองต่างๆ ทางอิเล็กทรอนิกส์ ก่อนการตรวจปล่อยสำนค้า ยกตัวอย่างเช่น องค์การอาหารและยา ควบคุมหรือไม่ กรมควบคุมมลพิษ ควบคุมหรือไม่ ระบบนี้จะทำให้ทานสามารถขอใบอนุญาตต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเพื่อจะได้ไม่มีปัญหาขณะปฏิบัติพิธีการทางศุลกากร

ซึ่งขณะนี้กรมศุลกากรได้ลงนามใน MOU ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งสิ้น 37 หน่วยงาน และได้มีการดำเนินการเชื่อมงโยงข้อมูลอย่างเป็นทางการแล้ว 10 หน่วยงาน

ประโยชน์ของ National Single Window

  • ให้ผู้ประกอบการได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว
  • ลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อนและก่อให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ อย่างบูรณาการ
  • ส่งผลให้กระบวนการโลจิสติกส์โดยรวมดีขึ้น และเป็นพื้นฐานการพัฒนาระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างประเทศได้ในอนาคต

ทำให้เศรษฐกิจของประเทศในภาคการค้าการลงทุนีความเข้มแข็ง แข่งกับตลาดโลกได้

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีธุรกิจเฉพาะ

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีธุรกิจเฉพาะ
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 524
  • File Size 10.97 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

ภาษีธุรกิจเฉพาะตามประมวลรัษฎากรเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่ง ที่จัดเก็บจากการ

บริโภคและเริ่มใช้บังคับใน พ.ศ.2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บจากการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยทั่วไปแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกไป ภาษีธุรกิจเฉพาะจะจัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกไปเช่นกัน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ผู้ประกอบกิจการเฉพาะอย่างที่กำหนดไว้ซึ่งกิจการดังกล่าวไม่เหมาะสมที่จะให้เสียภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นจึงให้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะแทน ซึ่งมีลักษณะการเสียภาษีคล้ายคลึงกับภาษีการค้าที่ถูกยกเลิกไปนั่นเอง กิจการที่อยู่ในข่ายบังคับของภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจะไม่อยู่ในข่ายบังคับของกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มอีก เพื่อมิให้ต้องเสียภาษีการบริโภคซ้ำซ้อน ทั้งนี้เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะนั้น ต่างเป็นภาษีทางอ้อมที่เก็บจากฐานบริโภคทั่วไปภายในประเทศ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คำนวณจากรายรับที่กิจการได้รับหรือพึงได้รับในเดือนภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และเสียภาษีเป็นรายเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป นอกจากนี้ยังต้องเสียภาษีบำรุงเทศบาลหรือรายได้สุขาภิบาลหรือรายได้จังหวัด ควบคู่กันไปอีกร้อยละ 10 ของภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ภาษีท้องถิ่นเหล่านี้เป็นภาษีที่กรมสรรพากรช่วยดำเนินการจัดเก็บเพื่อส่งเป็นรายได้แก่องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อใช้จ่ายในกิจการของท้องถิ่น

 

  1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ มีองค์ประกอบ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

(1) บุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือ นิติบุคคล

(2) ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

(3) ประกอบกิจการในราชอาณาจักร

 

องค์ประกอบที่ 1เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือ นิติบุคคล

มีความหมายเช่นเดียวกับองค์ประกอบที่ 1 ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้อธิบายไปแล้วในภาคที่ 4 เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

องค์ประกอบที่ 2ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีมูลค่าเพิ่ม

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีมูลค่าเพิ่ม
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 1387
  • File Size 50.45 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาคที่ 4

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประมวลกฎหมายรัษฎากรเป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากฐานการบริโภคทั่วไป ภาษีนี้และภาษีธุรกิจเฉพาะ (ดูที่ภาค 5) เริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 โดยนำมาใช้แทนภาษีการค้า ซึ่งถูกยกเลิกไปเพราะไม่สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ผู้ขายสินค้าและผู้ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพในราชอาณาจักร (ตามกฎหมายเรียกว่าผู้ประกอบการ) และผู้นำเข้าสินค้า ทั้งนี้ ไม่ว่าชนิดใด ทอดใด และไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลห้างหุ้นส่วน หรือรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ ดังนั้น ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จึงอาจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยก็ได้ อนึ่ง โดยทั่วไป ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนี้จะเรียกเก็บภาษีจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการมาเสีย กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายต้องการให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเป็นผู้รับภาระภาษีนี้นั่นเอง อย่างไรก็ดีมีข้อสังเกตว่าธุรกิจบางประเภทที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภาคที่ 5) อยู่แล้ว หรือได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจะไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอีก

ภาษีมูลค่าเพิ่มคำนวณจากยอดมูลค่าสินค้าหรือบริการก่อนหักค่าใช้จ่ายใดๆ ตามอัตราภาษีที่กำหนด ซึ่งมีอัตราเดียว โดยต้องคำนวณภาษีสำหรับค่าราชการบริหารส่วนท้องถิ่นเพิ่มควบคู่ไปอีก 1 ใน 9 ส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร อย่างไรก็ดีเพื่อมิให้มีการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อนจากสินค้าและบริการที่ต้องผ่านขบวนการหลายขั้นตอนก่อนถึงมือผู้บริโภค ดังนั้น ในการคำนวณภาษีผู้ประกอบการจดทะเบียน จะนำภาษีที่เรียกเก็บได้จากผู้ซื้อหรือผู้รับบริการซึ่งกฎหมายเรียกว่า ภาษีขาย ตั้งแล้วลบหรือเครดิตด้วยภาษีที่ตนถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนรายอื่นเรียกเก็บ ซึ่งกฎหมายเรียกว่า ภาษีซื้อโดยอาศัยหลักฐานสำคัญที่เรียกว่า ใบกำกับภาษีภาษีซื้อนี้อาจขอคืนเป็นเงินสดแทนการเครดิตยกยอดไปก็ได้ กรณีนี้จึงอาจกล่าวได้ว่าภาษีนี้คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนเท่านั้น

เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบข่ายบังคับกว้างขวางมาก และอาจก่อให้เกิดภาระยุ่งยากแก่ผู้ประกอบการขนาดเล็กโดยทั่วไป จึงมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้ผู้ประกอบการที่มีรายรับต่อปี หรือต่อรอบระยะเวลาบัญชี ไม่เกิน 1,800,000 บาท ซึ่งกฎหมายเรียกว่ากิจการขนาดย่อม ส่วนผู้ประกอบการที่มีรายรับต่อปีเกิน 1,800,000 บาท รวมทั้งผู้นำเข้าสินค้าจะต้องเสียภาษีตามอัตราปกติ

ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยทั่วไปจะต้องชำระเป็นรายเดือนภาษี (เดือนปฏิทิน) ภายในวันที่ 15 ของเดือนภาษีถัดไป ผู้ประกอบการนอกจากต้องจดทะเบียนและมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเป็นรายเดือนแล้ว ยังมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษี รายงานและหลักฐานต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้อีกด้วย ผู้ฝ่าฝืนย่อมอาจถูกประเมินภาษีพร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รวมทั้งอาจถูกยึดทรัพย์สินนำไปขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปเสียภาษี หรืออาจถูกดำเนินคดีอาญาด้วยก็ได้

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้เสริมภาษี

แชร์ให้เพื่อน
แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้เสริมภาษี
Download
Download is available until [expire_date]
  • Version
  • Download 841
  • File Size 3.83 MB
  • File Count 1
  • Create Date 24 สิงหาคม 2018
  • Last Updated 1 มีนาคม 2019

แนวข้อสอบ กรมสรรพากร แจกฟรี!! ความรู้เสริมภาษี

ความรู้เสริม :

ภาษีการรับมรดก

 

เดิมประเทศไทยมีการจัดเก็บภาษีมรดกมาแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2476 ตาม “พระราชบัญญัติอากรมฤดกและอากรรับมฤดก พ.ศ. 2476” แต่ได้ยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2487 ภาษีการรับมรดกในส่วนนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีการรับมรดก พ.ศ. 2558 ซึ่งให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 5 สิงหาคม 2558 และมีหลักการสำคัญเป็นการเก็บภาษีมรดกจากผู้รับมรดก ส่วนการเก็บภาษีจากการรับให้ทรัพย์สินก่อนเจ้ามรดกตาย อยู่ในรูปภาษีเงินได้ ซึ่งมีการแก้ไขประมวลรัษฎากร ในเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวกับการรับให้เพื่อรายได้เข้ารัฐและป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดกด้วย การจัดเก็บภาษีการรับมรดกนี้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากรและมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

 

  1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก และขอบเขตการบังคับใช้ทางกฎหมาย

 

ได้แก่ บุคคลผู้ได้รับมรดก ดังต่อไปนี้

(1) บุคคลผู้มีสัญชาติไทย

(2) บุคคลธรรมดาผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เช่น คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-immigrant Visa) และอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว โดยมีรอบเวลาการพำนักไม่น้อยกว่า 3 ปี ยื่นคำขอเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรได้

บุคคลตามข้อ 1 และ 2 จะเสียภาษีการรับมรดกทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยและทรัพย์สินที่อยู่นอกประเทศไทย

(3) บุคคลผู้มิได้มีสัญชาติไทย แต่ได้รับมรดกอันเป็นทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย

You may also like...

ACTGROUP แอ๊คกรุ๊ป ติวสอบท้องถิ่น สอบ กพ. 2562 - 2563 แนวข้อสอบ กพ ธ.ก.ส. รับสมัครสอบ ข่าวสอบราชการ สอบ ก.พ. 2563 รับสมัครงาน สอบ กพ. อบต. สอบภาค ก สอบภาค ข รับสมัครงาน ศูนย์รวมงานราชการ งานรัฐวิสาหกิจ งานเอกชน หางานราชการ สมัครงานราชการ และข่าวสารการรับสมัครงานมากมายที่นี่ี 2562-2563