กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 19 ต.ค. -28 ต.ค. 2565 รวม 7 อัตรา,
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดรับสมัครสอบพนักงานราชการ 19 ต.ค. -28 ต.ค. 2565 รวม 7 อัตรา,
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
ลิงค์: https://ehenx.com/17682/ หรือ
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,สถาปนิก,วิศวกรโยธา,วิศวกรเครื่องกล,นายช่างเครื่องกล,นายช่างไฟฟ้า
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,280-19,500
อัตราว่าง: 7
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร
เปิดรับสมัครตั้งแต่: 19 ต.ค. – 28 ต.ค. 2565
**ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
—
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เปิดรับสมัคร
เรื่อง รับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป
ด้วยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีความประสงค์จะรับสมัครบุคคลเพื่อจัดจ้างเป็นพนักงาน ราชการทั่วไป ฉะนั้น อาศัยอำนาจตามประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการ และแบบสัญญาจ้างของพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะ งานและคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดทำกรอบลัตรากำลังพนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ลงวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง การกำหนดลักษณะ งาน และคุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มงานและการจัดกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕ จึงประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป โดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 18000- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สถาปนิก
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 19500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรโยธา
อัตราว่าง : 2 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 19500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
วิศวกรเครื่องกล
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 19500- บาท
คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
นายช่างเครื่องกล
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11280-13800 บาท
คุณวุฒิ : ปวช.
นายช่างไฟฟ้า
อัตราว่าง : 1 อัตรา
อัตราเงินเดือน : 11280-13800 บาท
คุณวุฒิ : ปวช.
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สาขาวิชาศิลปศาสตร์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถาปนิก
ปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
วิศวกรโยธา
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมโยธา หรือทางวิศวกรรมโครงสร้าง และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
วิศวกรเครื่องกล
ได้รับปริญญาตรีหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ทางวิศวกรรมเครื่องกล และได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามที่กฎหมายกำหนด
นายช่างเครื่องกล
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง หรือสาขาวิชาโลหะการ
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาเครื่องกล สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขาวิชาเทคนิคโลหะ สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
นายช่างไฟฟ้า
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
– ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน ในสาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโทรคมนาคม หรือสาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
1) รวบรวม วิเคราะห์ สถานการณ์เศรษฐกิจการเมืองและสังคม เพื่อนำมาสรุปเสนอประกอบการกำหนดนโยบายและเป้าหมายของส่วนราชการ
2) รวบรวมข้อมูล และศึกษาวิเคราะห์เบื้องต้น เกี่ยวกับภารกิจหลักและแผนกลยุทธ์ของ ส่วนราชการ เพื่อวางแผนกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หรือโครงการให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
3) วิเคราะห์นโยบาย หรือแผนงานของส่วนราชการ เพื่อจัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมได้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
4) สำรวจ รวบรวม และประเมินผลข้อมูลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับจัดทำแผนงานหรือกำหนดยุทธศาสตร์
5) ศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้งติดตามประเมินผลให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
สถาปนิก
1) รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อการกำหนดรายละเอียดโครงการทางสถาปัตยกรรมหลักรวมทั้งการออกแบบวางผังเมืองประเภทต่างๆ
2) จัดทำแบบงานปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติม รวมถึงงานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรมหลัก
จัดทำงบประมาณ ราคาค่าก่อสร้าง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการพื้นที่ใช้สอยของหน่วยงานและให้ได้สถาปัตยกรรมที่มีความเหมาะสม ประหยัด สอดคล้องตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
3) ออกแบบวางผังสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่ กลุ่มอาคาร ชุมชนและเมืองรวมทั้ง การจัดรูปที่ดิน เพื่อให้ชุมชนน่าอยู่และมีสภาพแวดล้อมที่ดี
4) ควบคุมการก่อสร้างปรับปรุงซ่อมแซมและต่อเติม รวมถึงงานอนุรักษ์ทางสถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบและรายการที่กำหนด
5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ข้อมูล จัดทำคู่มือ เกณฑ์ มาตรฐาน แนวทาง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และการออกแบบทางสถาปัตยกรรมหลัก
6) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
7) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
8) ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง ตอบปัญหาและแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง
9) จัดเก็บข้อมูลและสถิติเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงหรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับงานสถาปัตยกรรม และงานอนุรักษ์ เพื่อให้สอดคล้องและสนับสนุนภารกิจของหน่วยงาน และใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย แผนงาน หลักเกณฑ์ มาตรการต่างๆ
10) ตรวจสอบความถูกต้องของแบบด้านสถาปัตยกรรมหลักเบื้องต้น ซึ่งจัดทำโดยเอกชน หรือหน่วยงานอื่น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของหน่วยงาน
11) ให้ความรู้ด้านวิชาการทางสถาปัตยกรรมระดับต้นทุกสาขาแก่บุคคลทั่วไปและหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ผู้สนใจได้รับทราบข้อมูล ความรู้ต่างๆ และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
12) ร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างที่เกี่ยวข้องกับงานสถาปัตยกรรมหลัก เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักเกณฑ์ที่กำหนด
13) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
วิศวกรโยธา
1) สำรวจ ศึกษา วางแผน วิเคราะห์ วิจัย ออกแบบ คำนวณ ประมาณราคา ควบคุมงานก่อสร้าง งานบำรุง งานบูรณะซ่อมแซม งานอำนวยความปลอดภัย งานผังเมืองหรืองานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เป็นไปตามหลักวิชาการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) ตรวจสอบ แบบแปลน โครงสร้าง สภาพการใช้งานของอาคารหรือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัย
3) ควบคุม ดูแล การปฏิบัติงานสำรวจ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้รูปแบบแผนที่ต่างๆ ที่ถูกต้อง
4) ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ กำหนด กฎ ระเบียบ มาตรฐาน มาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมโยธา และโครงสร้างพื้นฐาน
5) ศึกษา วิจัย และทดสอบวัสดุที่ใช้ในงานด้านวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มีความมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัยและประหยัดงบประมาณ
6) ตรวจสอบสัญญาก่อสร้าง บำรุง บูรณะซ่อมแซมและอำนวยความปลอดภัย รวมถึงการแก้ไขสัญญางานวิศวกรรมโยธา เพื่อให้งานมีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานและข้อกำหนด
7) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
วิศวกรเครื่องกล
(1) วางโครงการ ออกแบบ คำนวณ ควบคุมการสร้างหรือการผลิต อำนวยการใช้ กำหนดมาตรฐาน ประเมินราคา ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ หรือซ่อมบำรุง เกี่ยวกับงานวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ที่กำหนด
(2) ศึกษา วิจัย พัฒนา และปรับปรุงงานวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้งานมีคุณภาพและมีมาตรฐานที่ดี (3) รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลด้านวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้งานมีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี
(4) จัดทำข้อกำหนดและรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะ (Specifications) ด้านวิศวกรรมเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน
(5) วางแผนการทำงานที่รับผิดชอบ ร่วมดำเนินการวางแผนการทำงานของหน่วยงานหรือโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่กำหนด
(6) ประสานการทำงานร่วมกันทั้งภายในและภายนอกทีมงานหรือหน่วยงาน เพื่อให้เกิดความร่วมมือและผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด
(7) ชี้แจงและให้รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล ข้อเท็จจริง แก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจหรือความร่วมมือในการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย
(8) ให้คำแนะนำ ชี้แจง และตอบปัญหาด้านวิศวกรรมเครื่องกลในระดับเบื้องต้นแก่หน่วยงานราชการ เอกชน หรือประชาชนทั่วไป เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ทราบข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
(9) จัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น ทำสถิติ ปรับปรุง หรือจัดทำฐานข้อมูลหรือระบบสารสนเทศ เพื่อใช้ประกอบกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ มาตรการต่าง ๆ
(10) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างเครื่องกล
1) ดำเนินการตรวจสอบ บำรุงรักษา ประมาณราคาซ่อมแก้ไข ปรับปรุง เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้พร้อมใช้อยู่เสมอ
2) ดำเนินการออกแบบ เขียนแบบเครื่องกล การผลิตชิ้นส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดลอง ทดสอบ สอบเทียบเครื่องมือ ประมาณราคาเครื่องจักรกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการใช้งาน
3) สำรวจ รวบรวมข้อมูล จัดทำสถิติ ประวัติการบำรุงรักษา การซ่อมเครื่องจักรกล เครื่องมือกล ยานพาหนะ และงานด้านเครื่องกล เพื่อเป็นข้อมูลหลักฐานสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน
4) ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
5) ให้คำแนะนำและบริการผู้มาติดต่อราชการ เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงาน
6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นายช่างไฟฟ้า
(1) สำรวจ เขียนแบบ ประมาณการราคาด้านไฟฟ้า ติดตั้ง ซ่อม ประดิษฐ์ ดัดแปลง ปรับปรุง ควบคุม การใช้งานดูแลบำรุงรักษาและใช้งานเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบสารสนเทศ ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบคอมพิวเตอร์ รับส่งข้อมูลข่าวสาร ในภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่าง ต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพตอบสนองความต้องการของหน่วยงานภายในและภายนอก
(2) จัดทำทะเบียนคุม รวบรวมและเก็บข้อมูลทางสถิติของการใช้งานเพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
(3) ปรับเทียบค่ามาตรฐานตามภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการออกใบรับรองตามที่หน่วยงาน หรือกฎหมายกำหนด
(4) ให้คำแนะนำ ตอบปัญหา แก้ไขปัญหาแกผู้ใช้งานและผู้รับบริการทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้สามารถใช้งานไดอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
(5) ประสาน แลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อประกอบการปฏิบัติงานได้อย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ
(6) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
– ความรู้ความสามารถ
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) – ความรู้เกี่ยวกับนโยบายของรัฐด้านสาธารณสุข – ความรู้เกี่ยวกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2580) – ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันด้านระบบสุขภาพ – ความรู้เกี่ยวกับแผนปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข – ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ การจัดทำแผนงาน โครงการ – ความรู้เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารจัดการ – ความรู้เกี่ยวกับการกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน – ความรู้เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
สถาปนิก
– ความรู้ความสามารถ
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับงานด้านออกแบบสถาปัตยกรรม – ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรม และความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 – ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับขอบข่ายของงานที่ปฏิบัติด้านสถาปนิก
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
วิศวกรโยธา
– ความรู้ความสามารถ
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ด้านออกแบบ โครงสร้าง – กฎหมายที่เกี่ยวข้อง – ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายของงานที่ปฏิบัติ – พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
วิศวกรเครื่องกล
– ความรู้ความสามารถ
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – วิศวกรรมด้านความปลอดภัย – กลศาสตร์วิศวกรรม – คอมพิวเตอร์โปรแกรม – อุณหพลศาสตร์ – กลศาสตร์ของไหล – ความแข็งแกร่งของวัตถุ – กลศาสตร์ของวัสดุ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
นายช่างเครื่องกล
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – กลศาสตร์วิศวกรรม – โลหะวิทยา – เชื่อมโลหะ – งานหล่อโลหะ – งานท่อประสาน – งาน Pipeline งานท่อ ของเหลว ของไหล – งานเขียนแบบเครื่องกล – งานปรับอากาศระบายอากาศ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน(แบบปรนัย)
นายช่างไฟฟ้า
– ความรู้ความสามารถ
1. ภาคความรู้ ความสามารถ 1.1 ความรู้ความสามารถทั่วไป (30 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการ พ.ศ. 2547 – พระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 – พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 – นโยบายและการแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน (แบบปรนัย)
– ทักษะ
1.2 ความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง ( 70 คะแนน) ทดสอบความรู้ ดังนี้ – ความรู้เกี่ยวกับควบคุมทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ – การวิเคราะห์คำนวณวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ – การเขียนแบบและประมาณราคาระบบไฟฟ้า – วิธีบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า การป้องกันระบบไฟฟ้ากำลัง – ระบบไฟฟ้ากำลัง ระบบแสงสว่าง หม้อแปลงและมอเตอร์ – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์สื่อสาร
วิธีการประเมิน : สอบข้อเขียน (แบบปรนัย)
– สมรรถนะ
2. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ทุกตำแหน่ง) พิจารณาจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน ความสามารถประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ และบุคลิกภาพอื่น ๆ
วิธีการประเมิน : สอบสัมภาษณ์
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. – 28 ต.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร
ตำแหน่ง: นักวิเคราะห์นโยบายและแผน,สถาปนิก,วิศวกรโยธา,วิศวกรเครื่องกล,นายช่างเครื่องกล,นายช่างไฟฟ้า
ระดับการศึกษา: ปวช.,ปริญญาตรี
อัตราเงินเดือน: 11,280-19,500
อัตราว่าง: 7
ปฏิบัติงานที่: กรุงเทพมหานคร ()
การสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของ ก.พ.: **ไม่ต้องผ่านภาค ก. ก.พ.**
ผู้ประสงค์จะสมัครสอบ สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ตเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 19 ต.ค. – 28 ต.ค. 2565 ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดราชการ
ประกาศรับสมัคร file 1 | เว็บรับสมัคร